‘อเด็คโก้’ ส่องทิศทางแรงงานยุคใหม่ ‘Hybrid Work - Skill Based’ สำคัญ

โลกยุคใหม่ หลังภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จากทักษะ (Skill) ดิจิทัล ที่ทั้งองค์กรและแรงงานต้องเพิ่มปัจจุบันสิ่งที่กลายเป็นเทรนด์และกำลังมาแรงมาก คือ ทักษะที่หลากหลาย และรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work หรือ Remote Work รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ใส่ใจเรื่อง ESG และ Diversity & Inclusion

แบบที่ใช่...โลกการทำงานยุคใหม่

นางธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า จากการฟื้นตัวของหลายธุรกิจ ทำให้ตลาดแรงงานกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า Gig Economy หรือการรับงานเป็นโปรเจค รวมทั้งรูปแบบการจ้างงานแบบเป็นสัญญาจ้างตามระยะเวลา ฟรีแลนซ์ หรือ Outsourcing มากขึ้น แทนที่จะรับเป็นพนักงานประจำ เพื่อให้องค์กรมีความคล่องตัว และได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลตามต้องการ

นอกจากนี้ ในการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ครั้งล่าสุด ที่ทางซีอีโอของอเด็คโก้ ได้ร่วมประชุม พบข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ การพูดคุยกันมาในส่วนของการทำงานแบบ Hybrid Work หรือ Remote Work ซึ่งบางประเทศประสบปัญหา เพราะความไม่พร้อมด้านนโยบาย ในขณะที่ทิศทางของทาเลนซ์ยุคใหม่ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

อเด็คโก้ ได้ทำผลสำรวจความคิดเห็นของคนไทยและกลุ่ม APAC รวม 9 ประเทศ ที่ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฮ่องกง นิวซีแลนด์ อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ เกี่ยวกับความพึงพอใจด้านเงินเดือนและสวัสดิการขององค์กรที่ตนเองสังกัด และความรู้สึกต่อเทรนด์การทำงานต่าง ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา

 

งานสายเทค เงินเดือนพุ่งเทียบชั้นซีอีโอ

หากพูดถึงอัตราเงินเดือน เงินเริ่มต้นของตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก ในขณะที่การเติบโตของสายงานเทค ทิจิทัลยังคงมาแรง โดยเฉพาะด้าน Software Engineer ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี คนทำงานในระดับประสบการณ์ 0-3 ปี เงินเดือนสูงสุดถึง 100,000 บาท จากเดิมที่มีคนเคยได้ 80,000 บาทในปีที่ผ่านมา เรียกว่าแตะเงนเดือนระดับซีอีโอเลยทีเดียว เนื่องจากยังเป็นสายงานที่ขาดแคลน และมีความต้องการในตลาดสูง

ส่วนเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูง อาจสูงถึง 600,000 บาทหรือมากกว่า เช่น Medical Director ในธุรกิจ Healthcare หรือ ตำแหน่ง Managing Director ในอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งสองธุรกิจเติบโตเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจด้านสุขภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งระดับสูงอื่น ๆ เช่น Chief Digital Officer และ Chief Technology Officer ที่เงินเดือนอาจสูงถึง 500,000 บาทหรือมากกว่า

พนง.องค์กรเกินครึ่งพร้อมเปลี่ยนงาน

ขณะที่โลกยุคใหม่ การเปลี่ยนแปลงหลาย อย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว แรงงานที่เข้ามาซัพพอร์ตในตลาด ก็ต้องมีทักษะที่ตอบสนอง เพราะฉะนั้น คนที่ทักษะดีซึ่งถือเป็นทาเลนต์ที่ตลาดต้องการจึงมีทางเลือกมากขึ้น และเกิดการเปลี่ยนงานในตลาดมากขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่า 36% เป็นกลุ่มที่พร้อมเปลี่ยนงานและมองหางานใหม่ๆ เสมอ และอีก 54% ที่นั่งเฉยๆ แต่ไม่เฉย นั่นคือ หากมีข้อเสนอที่ดี ฉันก็พร้อมไป จะเหลือเพียงแค่ 10% ที่อยู่นิ่งๆ กับองค์กร เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กรและทีมเอชอาร์ต้องตระหนัก และหาวิธีในการดึงดูด

การรักษาคนที่เป็นทาเลนต์ไว้กับองค์กรไม่ใช่เรื่องงาน เพราะความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของพนักงาน ไม่ได้มีเพียงเงินเดือนหรืองานที่ใช่สำหรับเขาเท่านั้น สิ่งที่แรงงานยุคใหม่มองหาจากองค์กร จะมีทั้งเรื่องของอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น โดยแรงงานไทยต้องการเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 6% ส่วนแรงงานเวียดนามต้องการเพิ่ม 23% อินเดีย 21% และหากออฟเฟอร์เงินเดือนได้โดนใจพี่ไทยพร้อมย้ายทันที 59% อินเดีย 91% มาเลเซีย 72% สิงคปร์ 57% ฮ่องกง 37%

นอกจากเรื่องของเงินเดิือน การเทรนนิ่ง การพัฒนาทักษะของแรงงาน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มทาเลนต์ต้องการ รวมถึงเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร การให้ความใส่ใจกับนโยบายด้าน ESG (Environment, Social, และ Governance) และที่ขาดไม่ได้สำหรับทาเลนต์รุ่นใหม่ คือ การทำงานที่ยืดหยุ่น หรือ Hybrid Woking รวมทั้งการทำงานเป็นทีม การแบ่งปันความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การให้ความสำคัญกับ Diversity & Inclusion การให้โอกาสคนเท่าๆ กัน และยังต้องใส่ใจการดูแลทั้งสุขภาพใจและกายของพนักงานด้วย

นางธิดารัตน์ ย้ำอีกว่า องค์กรยุคใหม่ที่ต้องการเติบโต จะมองหาแค่พนักงานที่มีประสบการณ์อย่างดียว ไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับยุคนี สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ Skill Based ทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของสายงานนั้นๆ เพื่อทำให้องค์กรได้รับผลและประสิทธิภาพตามที่หวัง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เด็กๆ รุ่นใหม่ จะมี Portfolio ของตัวเองมาโชว์ในการสมัครงาน

ในขณะเดียวกัน องค์กรก็ต้องจัดทัพ ปรับองค์กรสร้างโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ลูกค้า ที่มีความต้องการเปลี่ยนไปด้วย เนื่องจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ทำให้หลายธุรกิจปรับตัว ปรับรูปแบบ เพราะฉะนั้นต้องคิดร่วมกับลูกค้า เพื่อหาโซลูชั่นที่ใช่สำหรับเขา จึงจะสามารถดึงดูดงาน และสร้างองค์กรให้เติบโตได้ต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...