ประกาศฎกระทรวงบังคับเก็บค่าใช้น้ำ0.373-0.50บาทต่อ ลบ.ม.

Key Point

  • เก็บค่าน้ำ เฉพาะ การใช้น้ำประเภทที่ 2 เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การผลิตพลัง งานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น และการใช้น้ำประเภทที่ 3  เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง
  • ไม่จัดเก็บค่าน้ำ กับประเภทที่ 1 เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการใช้น้ำของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตและไม่ต้องชำระค่าใช้น้ำ
  • ทำแผนการใช้น้ำทุก5 ปี ยื่นขออนุญาตหน่วยงาน อัตราในเขตชลประทาน   0.50 บาทต่อลบ.ม. และนอกเขตชลประทาน 0.373 บาทต่อลบ.ม. 

 

 

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่าตามที่คณะรัฐมนตรีได้ เห็นชอบกฎกระทรวงภายใต้ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 จำนวน 5 ฉบับ และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย กฎกระทรวงที่เสนอโดย สทนช. 3 ฉบับ คือ กฎกระทรวงกำหนดลักษณะการใช้น้ำแต่ละประเภท พ.ศ. 2567 กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ 2 และใบอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ 3 พ.ศ. 2567 และกฎกระทรวงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าใช้น้ำ การเรียกเก็บ ลดหย่อน และยกเว้นค่าใช้น้ำ สำหรับการใช้น้ำประเภทที่2 และการใช้น้ำประเภทที่ 3 พ.ศ. 2567

ส่วนอีก 2 ฉบับเสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ที่ไม่ใช่น้ำจากทางน้ำชลประทานและไม่ใช่น้ำบาดาล พ.ศ. 2567 และกฎกระทรวงการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 พ.ศ. 2567

สำหรับสาระสำคัญของกฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ได้กำหนดลักษณะการใช้น้ำไว้ 3 ประเภทคือ การใช้น้ำประเภทที่1 เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์

การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การใช้น้ำประเภทที่ 2 เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การผลิตพลัง งานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น และการใช้น้ำประเภทที่ 3  เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง

 

 

 

ทั้งนี้ การใช้น้ำประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นการใช้น้ำของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตและไม่ต้องชำระค่าใช้น้ำ แต่ผู้ใช้น้ำจะต้องให้ข้อมูลแก่ 1 หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจะได้รวบรวมจัดส่งให้ สทนช. นำไปวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำในภาพรวม เพื่อการวางแผนบริหารจัดการน้ำด้านอุปทานให้สอดคล้องกับอุปสงค์ต่อไป

ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกพืชต่างๆ หรือแม้กระทั่งการทำนาปลูกข้าว การเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากกฎกระทรวงดังกล่าว ยกเว้นการใช้น้ำบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล ยังคงต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล และบางกิจการที่ใช้น้ำบาดาลอาจต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะที่ผ่านมาก็มีการชำระค่าใช้น้ำบาดาลอยู่แล้ว

 

 

 

ส่วนการใช้น้ำประเภทที่2 และประเภทที่ 3 จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อม “แผนบริหารจัดการน้ำ” ต่ออธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ หรืออธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แล้วแต่กรณีว่าทรัพยากรน้ำที่ใช้นั้น หน่วยงานไหนรับผิดชอบในทุกๆ 5 ปี การยกเว้นค่าใช้น้ำในบางกิจการเช่นกัน เช่น การผลิตน้ำเพื่อให้บริการด้านอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ เฉพาะกรณีที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 30 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อชั่วโมง การผลิตน้ำดื่มสำหรับบริโภคในโรงเรียน การใช้น้ำในโรงพยาบาล เป็นต้น

ดังนั้นประปาหมู่บ้านที่ให้บริการประชาชนที่อยู่ในต่างจังหวัดหรือประปาภูเขาที่ให้บริการประชาชนในพื้นที่สูง ที่ผลิตน้ำประปาให้บริการโดยไม่ได้แสวงหากำไร ก็ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าใช้น้ำ

 

 

 

สำหรับอัตราค่าใช้น้ำในเขตชลประทาน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการชลประทาน ซึ่งกำหนดค่าชลประทานในอัตรา 50 สตางค์ต่อ ลบ.ม. ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าใช้น้ำประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ที่ไม่ใช่น้ำจากทางน้ำชลประทานและไม่ใช่น้ำบาดาลหมายว่าด้วยการชลประทาน พ.ศ. 2567 ซึ่งกำหนดไว้ในอัตรา 0.373 สตางค์ต่อ ลบ.ม. เนื่องจากเป็นการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่อาจไม่มีต้นทุนค่าก่อสร้าง ทำให้สามารถจัดหาน้ำได้ในราคาที่ถูกกว่า ส่วนค่าใช้น้ำบาดาล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล

 

 

 

“กฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว เป็นกฎหมายลำดับรอง หรือกฎหมายลูก ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและกลไกในการบริหารจัดการน้ำ สร้างจิตสำนึกให้ผู้ใช้น้ำรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรน้ำ ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการประหยัดน้ำ การใช้น้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคิดวางแผนการใช้น้ำอย่างครอบคลุมทั้งระบบ เพื่อความมั่นคงในการใช้น้ำอย่างยั่งยืน” 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...