เปิดข้อเท็จจริง เติมน้ำมัน 'ไม่เต็มลิตร'

Key points

  • "พลังงาน" ย้ำดัดแปลงหัวจ่ายน้ำมันจำคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 2.8 แสนบาท
  • การดัดแปลงหัวจ่ายน้ำมันได้ไม่คุ้มเสีย เปิดทุกขั้นตอนการให้บริการปั๊มน้ำมัน
  • ระหว่างให้บริการทุกปั๊มต้องทดสอบหัวจ่ายทุกต้นเดือน โดยอัตราคลาดเคลื่อนต้องเกิน 0.5%

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและมาตรวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต ร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อตรวจสอบหัวจ่ายน้ำมันว่ามีความคลาดเคลื่อน และปฏิบัติถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่นั้น สืบเนื่องจากกรณีการจ่ายน้ำมันให้ประชาชนไม่เต็มลิตรของสถานีบริการน้ำมัน

ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบ ไม่พบหัวจ่ายน้ำมันเครื่องใดมีความคลาดเคลื่อน และผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน ยืนยันว่าได้เข้มงวดเป็นพิเศษ เพราะความถูกต้องเที่ยงตรงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และให้ความสำคัญกับความเชื่อมั่นของประชาชน โดยกรมธุรกิจพลังงานได้ประสานกับสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ และสำนักชั่งตวงวัด กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ร่วมดำเนินการตรวจสอบกว่า 1,000 แห่ง ภายใน 31 ม.ค. 2567

สำหรับผู้ให้บริกาสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากเครื่องหมายคำรับรอง ซึ่งจะมีการปิดผนึกทั้งในส่วนของตู้ด้านนอกและในส่วนของอุปกรณ์ภายในตู้ ซึ่งหากชุดผนึกนี้มีการแตกหักเสียหาย ก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากพบว่ามีปริมาณน้ำมันคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามกฎหมาย

โดยมีเจตนาแก้ไขดัดแปลงหัวจ่ายให้เกิดความคลาดเคลื่อนก็จะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท ทั้งนี้ กรมธุรกิจพลังงาน จะร่วมกับกรมการค้าภายในและสำนักงานพลังงานจังหวัด ติดตามและออกตรวจสอบสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน

รายงานข่าวระบุถึงกระบวนการขั้นตอนก่อนการจําหน่ายนํ้ามัน แบ่งออกเป็น 

1. ก่อนการเปิดจําหน่าย เจ้าหน้าที่สํานักชั่งตวงวัดจะเข้าดําเนินการ ตรวจสอบ ทดสอบ พร้อมให้คํารับรองมิเตอร์ โดยใช้ถังตวงมาตรฐานขนาดปริมาตร 5 ลิตร และ 20 ลิตรในการทดสอบ และจะมีการตีตราซีลเพื่อป้องกันไม่ให้สามารถทําการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับแต่ง ปริมาณการจ่ายนํ้ามันได้ ทั้งนี้ จะต้องมีค่าเท่ากับ 0 หรือ +-ไม่เกิน 0.5% เท่านั้น  

2. ระหว่างการใช้งานสถานีบริการจะต้องทําการทดสอบปริมาณการจ่ายน้ำมันทุกมือจ่ายด้วยถังตวงมาตรฐาน ขนาดปริมาตร 5 ลิตร ทุกต้นเดือน และรวบรวมส่งรายงานต่อสํานักชั่งตวงวัด ทุก ๆ เดือน โดยใช้เกณฑ์การตรวจสอบระหว่างใช้งาน อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่ +- 50 มิลลิลิตร (ไม่เกิน 1%) 

2.1 ระหว่างการใช้งาน หากพบว่ามีปริมาณการจ่ายนํ้ามันคลาดเคลื่อนเกินหรือขาดมากกว่า +50 มิลลิลิตร ทางสถานีบริการจะหยุดการจําหน่ายมือจ่ายที่พบปัญหา (แขวนป้ายหยุดใช้งาน) และดําเนินการแจ้งสํานักชั่งตวงวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ เข้ามาตรวจสอบ และให้คํารับรองมาตรวัดปริมาตรนํ้ามันเชื้อเพลิงใหม่ 

2.2 สถานีบริการไม่สามารถทําการตัดซีลตีตราเพื่อทําการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับแต่งปริมาณการจ่ายนํ้ามันได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท ฉะนั้น จะไม่มีผู้ค้ารายใดทําการแก้ไขดัดแปลง เนื่องจากโทษปรับทางกฎหมายมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าการมาปรับแต่งมิเตอร์ 

3. เมื่อสถานีบริการ ใช้งานตู้จ่ายนํ้ามัน จนอายุคํารับรองครบระยะเวลา 2 ปี  ทางสถานีบริการจะต้องนัดหมายเจ้าหน้าที่สํานักชั่งตวงวัดเข้ามาให้คํารับรองใหม่ ทั้งนี้ การให้คํารับรองจะมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดอยู่ที่ 0.5% ดังนั้น ทุกกระบวนการของสถานีให้บริการ ไม่ว่าจะก่อนเปิดสถานีบริการ ระหว่างที่การจําหน่าย จนกระทั่งจําหน่ายไปเป็นระยะเวลานึงแล้ว ต้องได้รับการตรวจสอบจากสํานักชั่ง ตวง วัด จะมีตราประทับรับรอง (ซีล) สถานีบริการ ไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้ 

ตู้จ่ายน้ำมัน 

ก่อนจะเปิดการใช้งานหัวจ่ายจะต้องได้รับการตรวจสอบจากชั่ง ตวง วัด เรียกว่า “การตรวจสอบเพื่อรับรองตามประกาศกระทรวงพาณิชย์” ซึ่งกําหนดให้มีอายุ 2 ปี เพราะฉะนั้นทุก ๆ 2 ปี สํานักชั่งตวงวัดจะเข้าทําการทดสอบ และให้คํารับรองใหม่จึงจะสามารถเปิดให้บริการผู้บริโภคต่อไปได้ การตั้งค่าตู้จ่ายนํ้ามันก่อนเริ่มใช้งาน จะตั้งค่าให้เป็นศูนย์หรือบวกอยู่แล้ว แต่เนื่องจากตู้จ่ายเมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน อาจมีโอกาสเสื่อมสภาพ ทําให้ปริมาณการจ่ายนํ้ามันคลาดเคลื่อนไป ซึ่งมีโอกาสเป็นได้ทั้งบวกและลบ การกําหนดให้จ่ายนํ้ามันเกินไว้ตลอดจึงเป็นไปได้ยาก 

แนวทางแก้ไข

กําหนดขอบเขตค่าความคลาดเคลื่อนให้แคบลงหรือกําหนดระยะเวลาตรวจซ้ำให้สั้นลงเพื่อปรับค่าความคลาดเคลื่อนให้อยูู่ในขอบเขตของค่าความคลาดเคลื่อนที่กําหนดไว้ตลอดเวลา สถานีบริการจะต้องทําการทดสอบมือจ่ายและรวบรวมส่งรายงานต่อสํานักชั่ง ตวง วัด ทุก ๆ เดือน ซึ่งหากพบว่า ปริมาณการจ่ายนํ้ามันคลาดเคลื่อนต้องหยุดจําหน่าย แจ้งสํานักชั่งตวงวัดเพื่อให้เข้ามาตรวจสอบ และให้คํารับรองมาตรวัดปริมาตรนํ้ามันเชื้อเพลิงใหม่ ทั้งนี้ การตั้งค่าตู้จ่ายให้จ่ายน้ำมันไม่เต็มลิตรจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ รวมถึงตั้งให้พอดี หรือเกินตลอดก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน 

หลักการเผื่อเหลือขาด 

อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเป็นสิ่งที่กรมการค้าภายในกําหนด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกําหนดชนิดและลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และอายุ คํารับรอง พ.ศ.2562 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกําหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรนํ้ามันเชื้อเพลิงจ่ายก่อนเติม รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และอายุคํารับรอง พ.ศ.2562

สําหรับสถานีบริการนํ้ามันมีการกําหนดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตั้งแต่ก่อนการเปิดให้บริการ ระหว่างใช้งาน และเมื่ออายุคํารับรองครบระยะเวลา 2 ปี สถานีบริการนํ้ามันไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขหัวจ่ายได้ มีโทษหนัก จําคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 280,000 บาท ทุกสถานีบริการนํ้ามันจะได้รับการตรวจสอบอยูู่ทุกเดือน โดยกรมการค้าภายใน ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกสถานีบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานเสมอ 

ความเข้าใจผิดเกียวกับอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดในปริมาณทีแตกต่างกัน โดยมีความเข้าใจผิดในการคูณนํ้ามันที่ไม่ถูกต้องที่ว่าหากเติมนํ้ามันห้าลิตรและคลาดเคลื่อน 50 มิลลิลิตร แสดงว่าหากเติมมากกว่านี้นํ้ามันจะขาดไปมากขึ้น เช่น ไม่ใช่ว่าเติม 20 ลิตร หรือเติม 50 ลิตรแล้วจะคูณเพิ่มไปตามนั้น

เนื่องจากการเติมแต่ละครั้งมีโอกาสคลาดเคลื่อนเป็นลบ, ศูนย์ หรือบวก ภายในกรอบที่กําหนด เช่น เติม 5 ลิตร คลาดเคลื่อนเป็นลบ แต่เมื่อเติม 20 ลิตร คลาดเคลื่อนเป็นบวก อัตราคลาดเคลื่อนจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราทวีคณตามทีคนเข้าใจ 

ตัวอย่างตารางอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของกระบวนการชั่งตวงวัด เปรียบเทียบระหว่างตามกฎหมายกับมาตรกํากับดูแลมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงของกรมการค้าภายใน

ตามกฎหมาย 

1. ก่อนการเปิดจําหน่าย (อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ +- 0.5%) 

2. ระหว่างการใช้งาน (อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ +-1%) 

3. เมื่ออายุคํารับรองครบระยะเวลา 2ปี (อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ +- 0.5%) 

การกํากับดูแลของหน่วยงาน ชั่ง ตวง วัด กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์  

สํานักชั่ง ตวง วัด เป็นผู้ตรวจสอบมิเตอร์การจ่ายนํ้ามันของทุกสถานีบริการ ทุกแบรนด์ และเป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถปรับแก้ไขมิเตอร์การจ่ายนํ้ามันได้ สถานีบริการน้ำมันไม่สามารถปรับแต่งมิเตอร์ได้เอง หากพบเจอผู้ใดอ้างว่าทําได้เป็นความเข้าใจที่ผิด และการทํางานของสํานัก ชั่ง ตวง วัด ในแต่ละพื้นที่และแต่ละสถานีบริการ จะมีมาตรฐานเดียวกัน 

การยอมรับในระดับสากล 

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์การยอมรับอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของการตรวจสอบปริมาณนํ้ามันให้ไม่เกิน 1% บวกลบไม่เกิน 1%

เกณฑ์การตรวจสอบ 

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์มีกําหนดให้มีอายุ 2 ปี 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...