"ควบรวมกิจการ" ไขข้อสงสัย...บทบาทหน้าที่ของ กขค.

คำตอบของคำถามข้างต้นก็คือ เนื่องจากมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 (พ.ร.บ. การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560) ระบุไว้ชัดเจนว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่การกระทำของ 

(1) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น

(2) รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ดำเนินการตามกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค

(3) กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือชุมนุมสหกรณ์ซึ่งมีกฎหมายรับรอง และมีวัตถุประสงค์ดำเนินการทางธุรกิจ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของเกษตรกร และ

(4) ธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกำกับดูแลในเรื่องการแข่งขันทางการค้า

ดังเช่นตัวอย่างที่หนึ่ง กรณีการควบรวมกิจการระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 2 รายใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกรณีที่สังคมให้ความสนใจและเป็นกังวลใจอย่างมาก เหตุเพราะจำนวนผู้ให้บริการในตลาดจะลดลงจาก 3 เหลือเพียง  2 รายใหญ่หลังการควบรวมกิจการ

ยิ่งกว่านั้นยังกังวลใจต่อเนื่องว่า การแข่งขันทางการค้าน่าจะลดลงในตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และที่สุดแล้วอาจนำไปสู่การผูกขาดตลาดของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยก็เป็นได้

ดังนั้น หลายฝ่ายจึงเข้าใจว่า กขค. จะต้องเป็นผู้พิจารณาการขออนุญาตควบรวมกิจการในกรณีนี้ แต่หากพิจารณามาตรา 4 (4) แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ดังที่กล่าวข้างต้น จะพบว่า

การพิจารณาอนุญาตหรือไม่ต่อการควบรวมกิจการในกรณีนี้ เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. อย่างมิอาจปฏิเสธ

ซึ่งสำนักงาน กสทช. เอง ก็มีกฎหมายลำดับรองที่รองรับการพิจารณาการควบรวมกิจการกรณีนี้ อันได้แก่

1. ประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 

2. ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม และ

3. ประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 

อย่างไรก็ตามในกรณีดังกล่าวนี้ สำนักงาน กขค. ได้ทำงานร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ในระดับเจ้าหน้าที่ด้วยการประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน แต่ที่สำคัญยิ่งที่สังคมต้องรับทราบข้อเท็จจริงที่ว่า พฤติกรรมทางการค้าใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังการควบรวมกิจการของผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นๆ  ย่อมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตาม พ.ร.บ. การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560

หากผู้ประกอบธุรกิจมีพฤติกรรมทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ก็มีแนวโน้มสูงที่จะเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจรายนี้เข้าข่ายการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งหากกระทำผิด จะต้องได้รับโทษทางอาญา

ตัวอย่างที่สอง เป็นกรณีของการควบรวมกิจการระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงกลั่นน้ำมัน 2 รายใหญ่ในประเทศไทย หลายฝ่ายเข้าใจว่า ผู้มีอำนาจในการพิจารณาการขออนุญาตควบรวมกิจการในกรณีนี้ ควรเป็นสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ.

ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ที่กล่าวข้างต้น หากแต่ข้อเท็จจริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจที่ขออนุญาตควบรวมกิจการในกรณีนี้  มิได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กกพ.

ดังนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่โดยแท้ของ กขค. ที่จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ต่อการขออนุญาตควบรวมกิจการ ซึ่ง กขค. ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด และมีมติเป็นเอกฉันท์อนุญาตให้เกิดการควบรวมกิจการได้ โดยมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ขอควบรวมกิจการจำต้องปฏิบัติตามที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะเป็นที่เรียบร้อย

ซึ่งหลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของสำนักงาน กขค. ที่จะต้องตรวจสอบและติดตามว่า ผู้ขอควบรวมกิจการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ กขค. กำหนดได้ถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ รวมไปถึงเฝ้าติดตามมิให้เกิดพฤติกรรมทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมขึ้น

เจตนารมณ์อันแท้จริงของการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ก็เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ซึ่ง กขค. และสำนักงาน กขค. ยึดถึอปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทางการค้าที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบุรกิจทุกรายและทุกระดับ มิใช่เพียงรายใดรายหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น!
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...