วิกฤติทะเลแดง กระทบค่าระวางพุ่ง-ขนส่งล่าช้า-เงินเฟ้ออาจหวนกลับ

เรือบรรทุกสินค้าต่างเปลี่ยนเส้นทางการค้ามูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของกองกำลังฮูตีในเยเมน จากเส้นทางการค้าที่สำคัญของตะวันออกกลาง รวมถึงคลองสุเอซที่เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมทุรอินเดีย

ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นอุปสรรคแนวหน้าของการค้าโลก เนื่องจากอัตราค่าระวางเพิ่มสูงขึ้นในทุกวัน ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แพงขึ้น ระยะเวลาการจัดส่งสินค้านานขึ้น และสินค้าในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิตอาจจัดส่งล่าช้า เพราะเดินทางถึงจีนช้าและต้องเดินทางยาวมากขึ้นเพราะใช้เส้นทางรอบแหลมกู๊ดโฮปของแอฟริกาใต้

แลร์รี ลินด์ซีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ลินด์ซีย์ กรุ๊ปบริษัทที่ปรึกษาเศรษฐกิจระดับโลก เผยว่า แรงกดดันด้านห่วงโซ่อุปทานที่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อชั่วคราวในปี 2565 อาจกลับมาอีก หากปัญหาในทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดียยังคงดำเนินต่อไป ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารธนาคารอื่น ๆ อาจเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แม้เฟดจ่อปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้

หลายประเทศทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักรและชาติอื่น ๆ อีก 9 แห่ง ต่างออกมาเตือนถึงความรุนแรงต่อเรือพาณิชย์ โดยมีแถลงการณ์ร่วม ระบุว่า ฮูตีจะต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา หากยังคุกคามชีวิต เศรษฐกิจโลก และการไหลเวียนของการค้าเสรีในเส้นทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาค

ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเดินเรือระบุ ช่วงนี้ความจุเรือขนส่งว่าง 20% เนื่องจากคำสั่งซื้อด้านการผลิตลดลงอย่างมาก และเรือบรรทุกสินค้าก็ลดเที่ยวเดินเรือ ขณะที่ความจุเรือที่มีจำกัดและระยะเวลาเดินทางที่นานขึ้น ทำให้อัตราการเติมเชื้อเพลิงสูงขึ้นไปด้วย

อัตราค่าขนส่งที่เดินทางจากเอเชียไปยังตอนเหนือของยุโรปแพงขึ้นมากกว่า 2 เท่าในสัปดาห์นี้ โดยมีมูลค่าสูงกว่า 4,000 ดอลลาร์ต่อตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต (ราว 140,000 บาท) ขณะที่ค่าขนส่งจากเอเชียไปยังแถบเมดิเตอร์เรเนียนทะานขึ้นไปที่ระดับ 5,175 ดอลลาร์ต่อตู้คอนเทนเนอร์ (ราว 180,000 บาท)

เรือบรรทุกบางแห่งประกาศขึ้นอัตราค่าขนส่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสูงกว่า 6,000 ดอลลาร์ต่อคอนเทนเนอร์ 40 ฟุต (ราว 200,000 บาท) โดยจะเริ่มมีผลกลางเดือน ม.ค. นี้ และมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตั้งแต่ 500-2,700 ดอลลาร์ (17,000 - 93,000 บาท)

ด้านอลัน แบร์ ซีอีโอธุรกิจขนส่ง OL-USA กล่าวว่า ค่าขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นกะทันหัน อาจทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีต้นทุนแพงขึ้น และกระทบต่อผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกของปี

ขณะที่ค่าขนส่งจากเอเชียไปยังชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาเหนือปรับตัวเพิ่มขึ้น 55% สู่ระดับ 3,900 ดอลลาร์ต่อคอนเทนเนอร์ 40 ฟุต ส่วนชายฝั่งตะวันตกทะยานขึ้น 63% ค่าขนส่งสูงขึ้นมากกว่า 2,700 ดอลลาร์ และเรือขนส่งหลายแห่งอาจเริ่มหลีกเลี่ยงเส้นทางชายฝั่งตะวันออก และหันไปใช้เส้นทางชายฝั่งตะวันตก ยิ่งไปกว่านั้น อัตราค่าขนส่งอาจแพงขึ้นอีกตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. เนื่องจากมีการประกาศขึ้นราคาหลายแห่งก่อนหน้านี้

ปีเตอร์ บุควาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุนของบลีกลีย์ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป มองว่า ปัญหานี้คือเรื่องใหญ่ เพราะราคาสินค้าส่วนใหญ่ที่ลดลงช่วยบรรเทาความตึงเครียดด้านเงินเฟ้อได้

อ้างอิง: CNBC

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

คำเดียวสั้นๆ "แฟนสาวจาค็อบ" พูดต่อหน้า "รถถัง" หลังชวดแชมป์โลก

เผยคำพูด แฟนสาวของ จาค็อบ สมิธ ที่พูดต่อหน้า รถถัง จิตรเมืองนนท์ หลังฟาดปากกันในศึกมวยไทย รุ่นฟลายเว...

กรมวิชาการเกษตร ระดมแผนเตรียมพร้อม ส่งลำไยเจาะตลาดจีน

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรเร่งขับเคลื่อนนโยบายผัก ผลไ...

ผลบอล "บาเยิร์น มิวนิก" ไม่พลาด บุกเชือด "ซังต์ เพาลี" รั้งจ่าฝูงบุนเดสลีกา

"เสือใต้" บาเยิร์น มิวนิก ทำได้ตามเป้า บุกมาเอาชนะ ซังต์ เพาลี เก็บ 3 คะแนนสำคัญ รั้งจ่าฝูง บุนเดสลี...

ส่องขุมทรัพย์ที่ดิน 'รถไฟ' 9.6 หมื่นล้าน จ่อประมูลสร้างรายได้เชิงพาณิชย์

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีทรัพย์สินที่ดินทั่วประเทศจำนวนมาก และยังเป็น...