เปิดเกณฑ์ Easy E-Receipt ใครร่วมได้ ใช้จ่ายอะไรได้บ้าง
วันที่ส่ง: 21/12/2023 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงมาตรการ "Easy E-Receipt"ว่า เป็นมาตรการที่ให้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือผู้ประกอบการทั่วไปเฉพาะค่าซื้อหนังสือ e-Book และสินค้า OTOP ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยต้องมีหลักฐานใบกำกับภาษีหรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)
วัตถุประสงค์ของมาตรการ
1.สนับสนุนการบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี 2567 เพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัว
ได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง คาดว่าจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท
2.จากคาดการณ์ มาตรการ "Easy E-Receipt" จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นประมาณ 0.18% เมื่อเทียบกับกรณีไม่มี
มาตรการ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง
3.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการขยายฐานภาษี
และสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐในระยะยาว
ร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ Easy E-Receipt (ผู้ขายสินค้า)
ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้ประกอบการทั่วไปเฉพาะค่าซื้อหนังสือ e-Book และสินค้า OTOP และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice and e-Receipt หรือ ระบบ e-Tax Invoice by Email
โดยประโยชน์ของการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 1.สร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้าในการประกอบธุรกิจ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการส่งใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินนั้นจะเป็นไปอย่างถูกต้อง ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ 2.ลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีต่อกรมสรรพากร 3.ช่วยให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ แนวปฏิบัติด้านภาษีและปรับปรุงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
บุคคลธรรมดาที่เข้าร่วมโครงการ (ผู้ซื้อสินค้า)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยประโยชน์ของการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงมาตรการ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรการ Easy E-Receipt สำหรับปีภาษี 2567 ซึ่งมีกำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2568 - 31 มีนาคม พ.ศ.256
2.ลดภาระการจัดเก็บเอกสารประกอบการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2567 ที่มีกำหนดการยื่นแบบ ภง.ด.90/91 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2568 -31 มีนาคม พ.ศ.2568 เพราะกรมสรรพากรจะจัดเตรียมข้อมูลค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เสียภาษีสามารถเลือกรายการที่จะใช้หักลดหย่อน และกรมสรรพากรจะจัดวางข้อมูล (Pre-Fill) บนแบบ ภ.ง.ด.90/91โดยอัตโนมัติ 3.ใบกำกับภาษีที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ทันที ไม่มีความเสี่ยงจากการได้รับใบกำกับภาษีปลอม
หลักเกณฑ์
1.ให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักรจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตาม
มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Receipt)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดี กรมสรรพากรประกาศกำหนดได้สูงสุดถึง 50,000 บาท
2.กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าซื้อสินค้าค่าบริการดังต่อไปนี้
(1) ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
(2)ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต
(3)ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน
3.ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการนี้ ไม่รวมถึง
(1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
(2) ค่าซื้อยาสูบ
(3) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
(4) ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
(5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
(6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15
กุมภาพันธ์ 2567
(7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
อเมริกันดราม่า! กองเชียร์จี้ไบเดนลาออก เปิดทาง ‘ประธานาธิบดีแฮร์ริส’ สู่ทำเนียบขาว
เว็บไซต์ Times Now รายงานว่า แม้แฮร์ริสจะยอมรับความพ่ายแพ้ไปแล้วและขอให้ผู้สนับสนุน “สู้ต่อไป” แต่บร...
อีลอน มัสก์ หนุนทรัมป์แทรกแซง 'เฟด' ชูประเด็น #EndtheFed ให้ปธน.คุมแบงก์ชาติ
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทเทสลาและสเปซเอ็กซ์ และเป็นเจ้าของแ...
การกลับมาของวัฒนธรรม Gothic ทางเลือกของ Gen Z ท่ามกลางป๊อปคัลเจอร์
วัฒนธรรมกอธิค หรือโกธิคที่มีรากฐานมาจาก Dark Romantic ความเข้มข้นทางอารมณ์ และการแสดงออกถึงตัวตนที่แ...
คาด 'วันคนโสดจีน' 11.11 ปีนี้ ยอดขายดีขึ้น แต่แบรนด์เนมหรูยังฟื้นยาก
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เทศกาลวันคนโสด 11.11 ซึ่งเป็นเทศกาลชอปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในรอบปีของจีน แล...
ยอดวิว