'พักเที่ยง' ชีวิตรันทดของชาวออฟฟิศ

ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่เหล่าพนักงานเลือกเพื่องานมากกว่าเพื่อตัวเอง จนทำให้หลายคนขาด 'มื้ออาหารที่มีคุณภาพ' จนแทบจำไม่ได้แล้วว่าได้มี 'พักเที่ยง' ที่ดี ๆ กับคนอื่นเขาครั้งสุดท้ายเมื่อไร

หาก 'อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน' เช่นเดียวกัน 'อาหารมื้อกลางวัน' ก็เป็นดั่งมื้อที่ขับเคลื่อนพลังงานช่วงบ่ายให้มีเรี่ยวแรงต่อไปตลอดทั้งวัน ดังนั้น การพักกลางวันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

พักเที่ยง ทานไปทำงานไป

จากการสำรวจที่จัดทำโดย Sharebite ร่วมมือกับ Wakefield Research เพื่อศึกษาว่าพนักงานมีความคิดอย่างไรกับช่วงเวลาพักกลางวัน พบว่า พนักงานกว่า 97% คิดว่าการพักกลางวันจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น แต่ความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ดังกล่าวกลับไม่เพียงพอที่จะโน้มน้าวการกระทำของพนักงานทั้งหมดได้

เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่กว่า 43% ยังคงทำงานหนักและยุ่งเกินไปจนลืมเวลาพักกลางวัน ในขณะที่ 39% เลือกที่จะข้ามเวลาพักกลางวันและงดอาหารกลางวันเพื่อใช้เวลาทำงานให้เสร็จโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่า พนักงานกว่า 62% เลือกที่จะกินอาหารกลางวันหน้าจอคอมที่โต๊ะและทำงานควบคู่ไปด้วย เพราะคิดว่าการทำงานโดยไม่หยุดพักหรือลุกจากโต๊ะทำงานจะสะท้อนว่าเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน รวมถึงต้องการให้งานเสร็จโดยเร็วที่สุดด้วย

ด้วยสาเหตุที่หลากหลายจึงกลายเป็นชนวนให้พนักงานแต่ละคนเลือกที่จะละเลยช่วงเวลาพักกลางวัน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง คนทำงานทุกคนล้วนมีทรัพยากรทางร่างกายและจิตใจที่จำกัด เช่นเดียวกับแบตเตอรี ที่เมื่อใดก็ตามที่พลังงานเหลือน้อย ร่างกายก็จะรู้สึกหมดพลัง หมดแรง และเต็มไปด้วยความเครียดและความเหนื่อยล้า จึงจำเป็นที่จะต้องชาร์จและฟื้นฟูร่างกายกลับมาด้วยการ 'ไปพัก' เพราะการทำงานทั้งที่พลังงานเหลือน้อยก็ล้วนแต่สร้างผลเสียต่อร่างกายมากขึ้น ทั้งยังกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงอีกด้วย

ขอแค่ 'บอส' พัก พนักงานก็พักได้อย่างสบายใจ

ไม่เพียงแต่กับพนักงานเท่านั้น แต่ 'หัวหน้างาน' หรือ 'บอส' ก็ต้องรู้จักการหยุดพักเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ทำให้พนักงานกล้าที่จะออกมาพักกลางวันได้อย่างไม่ต้องเกิดความกังวลใดๆ เนื่องจากพนักงานโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่มักเกิดความลังเลในการพักกลางวัน เพราะกังวลว่าหัวหน้าจะมองไม่ดี หากพวกเขาเลือกไปกินอาหารก่อนหัวหน้างานตนเอง

ในฐานะเจ้านายหรือหัวหน้างาน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำพนักงานมารวมกัน สร้างมิตรภาพร่วมกัน และสื่อสารความสำคัญของการพักกลางวันให้พนักงานทำตามได้นั้น วิธีการที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการพักกลางวันในที่ทำงานคือ การชวนพนักงานไปพักกินอาหารกลางวันด้วยตนเอง ยิ่งหัวหน้างานมีความใส่ใจให้การสนับสนุนการพักกลางวันมากเพียงใด ก็ยิ่งทำให้พนักงานเห็นถึงความสำคัญของช่วงเวลานี้มากขึ้นตามมาด้วย

ซึ่งตรงกับผลการสำรวจที่ว่า พนักงานกว่า 90% มีแนวโน้มที่จะอยู่กับบริษัทเดิมได้นานขึ้น หากหัวหน้าสนับสนุนให้พนักงานได้ใช้เวลาพักกลางวันอย่างเต็มที่ และไม่ปล่อยให้โหมงานหนักจนล่วงเลยเวลาพักกลางวันไป

แม้จะดูเป็นสิ่งจูงใจเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่อาหารกลางวันฟรีก็สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมาก ทั้งยังเป็นสิทธิประโยชน์ยอดนิยมที่เหล่าพนักงานใช้ในการพิจารณาตัดสินใจเข้าทำงานกับบริษัทใด ๆ รวมถึงดึงดูดให้พนักงานอยากเข้าบริษัทบ่อยขึ้นในยุคที่คนทำงานยังสามารถ Work From Anywhere ได้อีกด้วย

งีบหลับพักเที่ยงมีประโยชน์กว่านั่งเม้ามอย

การนอนหลับพักผ่อนในเวลาเที่ยงอาจพูดได้ว่าเป็นสิ่งที่ห่างหายไปจากชีวิตของเหล่าบรรดาชาวออฟฟิศเลยก็ว่าได้ พอจะงีบหลับในตอนกลางวันแต่ละที ก็กังวลกลัวโดนเจ้านายบ่นบ้างหรือเพื่อนร่วมงานอาจมองไม่ดีบ้าง แต่คุณรู้ไหมว่ามีบางประเทศให้ความสำคัญในการที่จะให้พนักงานงีบหลับในช่วงเวลาเที่ยงเป็นอย่างมากเพราะการนอนหลับพักเที่ยงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ แต่ก็ต้องไม่มากเกินไป

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเพียงหาเวลางีบหลับตอนเที่ยงประมาณ 10 -20 นาทีก็เพียงพอต่อการช่วยให้คุณทำงานดีขึ้นได้แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าประโยชน์จากการนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวันมีอะไรบ้างจะได้ไปอธิบายให้เจ้านายฟังได้

1. การนอนตอนเที่ยงช่วยให้คุณมีความจำดีขึ้น มีการทดลองจากต่างประเทศโดยแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่มให้ทำแบบทดสอบแข่งกัน กลุ่มแรกให้นอนงีบหลับเป็นเวลา 10-20 นาที อีกกลุ่มไม่ได้นอน ผลปรากฎว่ากลุ่มที่ได้นอนหลับสามารถทำแบบทดสอบได้ดีกว่าจึงเป็นผลสรุปว่าการนอนในระยะสั้นๆสามารถฟื้นฟูสมองจากความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดีแต่ก็ไม่ควรนอนเกิน20นาทีนะเพราะหากเกินจะเป็นการทำให้ประสิทธิ์ภาพในการคิดน้อยลงแทน

2. ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพให้ทำงานดีขึ้น มีการเปิดเผยจากองค์กรนาซาว่าการนอนหลับเพียง 26 นาที สามารถเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการทำงานได้ถึง 34 % และช่วยทำให้ร่างกายมีความตื่นตัวได้อีกถึง 54 % พวกเขาจึงแนะนำเหล่านักบินให้พักผ่อนตอนกลางวันก่อนออกปฎิบัติภารกิจ โดยการงีบหลับกลางวันมีส่วนอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยพบว่าเซลล์ประสาทจะมีการทำงานได้ดีขึ้นเมื่อได้พักในระยะเวลาสั้น จึงสามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้ดีขึ้น

3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและลดความดันเลือด นักวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า คนที่หาเวลางีบหลับในตอนกลางวันเพียง 3ครั้ง / สัปดาห์ ช่วยลดอัตตราการเสียชีวิตจากการเป็นโรคหัวใจได้และยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากผู้ที่ได้พักในเวลาสั้นๆ ระหว่างวันจะมีระดับความเครียดที่ลดลง โดยมีสถิติอย่างเป็นทางการว่า การงีบหลับสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างมีนัยสำคัญ

4 .ผ่อนคลายความเครียด มีการทดลองพบว่า การงีบหลับในตอนกลางวันสามารถช่วยลดระดับความเครียดที่เกิดจากการทำงานระหว่างวัน นอกจากนี้ ยังพบว่าอาสาสมัครที่ได้งีบหลับสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ตึงเครียดในแบบเดียวกัน

5. ช่วยลดความอ้วนได้ การงีบหลับช่วยให้น้ำตาลในเลือดกลับมาสู่ภาวะปกติและลดอาการอยากน้ำตาลลงได้เพราะเมื่อร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นจะไม่รู้สึกอยากน้ำตาล ลองสังเกตุได้จากคนที่นอนดึกหรือนอนไม่มีเพียงพอจะชอบอยากทานอะไรหวานๆเนื่องจากมีค่าน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอจึงทำให้อยากของหวานจนอ้วนขึ้นเรื่อยๆ

ในเมื่อการงีบหลับมีผลดีขนาดนี้ชาวออฟฟิตก็ควรหาเวลางีบหลับพักผ่อนบ้างแค่เวลาช่วงสั้นๆเพียง 20 นาที ก็ช่วยให้คุณทำงานได้ดีขึ้นแถมส่งผลดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก แต่ก็อย่านอนยาวจนเสียการเสียงานล่ะไม่งั้นชีวิตรันทดของจริงเลย

เพียงแค่ 'พัก' ก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวดี ๆ ได้

จากสำนวนสุดคุ้นหูที่ว่า “You are what you eat” หรือ “กินอะไรเข้าไปก็เป็นอย่างนั้น” กำลังสะท้อนถึงความเป็นจริง เพราะสิ่งที่เลือกไป ย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพการทำงาน และความเป็นอยู่โดยรวม แต่ทว่าในโลกของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องใช้ความเร่งรีบ พนักงานจึงมักละเลยความสำคัญของการพักกลางวันไป

เพื่อต้องการออกจากความรู้สึกเครียดและเหนื่อยล้าจากการทำงานนี้ แค่ปล่อยมือทั้งสองข้างที่กำลังทำงาน เพราะมีเพียงช่วงเวลาพักกลางวันเท่านั้นที่จะได้เติมเต็มพลังงาน เราจึงอยากมาร่วมย้ำเตือนถึงความสำคัญและประโยชน์ของการพักกลางวันนี้กัน

ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะความตึงเครียดอาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งสุขภาพกายและจิตใจ การปลีกตัวจากการทำงานในช่วงพักกลางวัน จะสามารถช่วยบรรเทาความเครียดให้รู้สึกดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง

ยืดตัวยืดกล้ามเนื้อ การนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลาหลายชั่วโมง เมื่อถึงเวลาพักกลางวัน ควรลุกจากโต๊ะทำงาน แทนการนั่งทำงานไปพร้อมกับการกินอาหารบนโต๊ะ แม้จะแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ในระหว่างหยุดพักกลางวัน ก็ถือเป็นการยืดกล้ามเนื้อที่ดี ข้อมูลของ American Academy of Orthopedic Surgeons ระบุไว้ว่า การหยุดพักจากการนั่งเพื่อยืนและยืดกล้ามเนื้อเป็นกุญแจสำคัญหนึ่งในการป้องกันอาการปวดหลังและทำให้กระดูกสันหลังแข็งแรงขึ้น

ช่วยให้รับประทานแต่พอดี การออกไปกินอาหารข้างนอกจะช่วยให้กินอย่างมีสติและมีสมาธิจดจ่ออยู่กับอาหารตรงหน้ามากขึ้น เพราะไม่รู้สึกเร่งรีบหรือมีงานมากดดัน สามารถช่วยป้องกันไม่ให้กินมากหรือน้อยเกินไป ตามที่ มาลีนา มัลคานี ผู้สร้าง Solve Picky Eating กล่าวไว้ว่า "การรับประทานอาหารไปพร้อม ๆ กับทำอย่างอื่น จะทำให้ความสามารถในการรับรู้สัญญาณความหิวและความอิ่มลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่การกินอาหารที่มากหรือน้อยเกินไป จนทำให้เกิดความอยากขึ้นอีกครั้งและทำลายสมาธิในการทำอะไรบางอย่างในที่สุด"

เติมพลังความคิดเผื่อความสร้างสรรค์ หากนั่งทำงานตลอดทั้งวัน ไม่ออกไปพักกลางวัน ความคิดที่มีก็อาจจะหมดลง และทำให้งานไม่ราบรื่นเท่าที่ควร ซึ่งช่วงเวลาที่สามารถพักจากงานได้นานที่สุดในเวลาทำงาน ก็คือช่วงพักกลางวัน ที่จะทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ หรือเข้าถึงงานจากมุมที่ต่างออกไป

ไม่ว่าจะเป็นสถิติที่ยืนยันแน่ชัดถึงประโยชน์ของการพักกลางวัน เช่น พนักงานกว่า 64% รายงานว่าอาหารกลางวันช่วยให้มีพลังงานต่อการทำงานในแต่ละวัน และพนักงานกว่า 51% ยอมรับว่าช่วงพักกลางวันช่วยให้สามารถจดจ่อกับการทำงานและทำงานออกมามีประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้ 28% ของพนักงานรายงานว่าการพักกลางวันทำให้มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น หรือการปรับทัศนคติว่าช่วงเวลาพักกลางวันคือเวลาคุณภาพสำหรับตนเอง ที่ถือเป็นโอกาสในการรีเซ็ตสมองและร่างกายให้กลับมามีสมาธิและพลังงานอีกครั้งหลังจากใช้เวลาทำงานมาในช่วงเช้าหลายชั่วโมง ก็เป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้เหล่าพนักงานทั้งหลายได้ปลดโซ่ตรวนออกจากโต๊ะทำงาน และก้าวเดินไปสัมผัสกับสิ่งเร้าใหม่ ๆ และของอร่อยภายนอก เพื่อชดเชยความเครียดและความเหนื่อล้าที่เกิดขึ้นนี้ให้น้อยลง

"การทุ่มเทพลังงานให้กับบางสิ่งบางอย่างเป็นเวลาแปดชั่วโมงต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นสิ้นเปลืองเกินไป อาหารกลางวันจึงกลายเป็นวิธีการเยียวยากายและเยียวยาใจที่ดี  แม้มันไม่ใช่การรักษา แต่มันก็ช่วยได้"...ว่าแล้วก็ไปพักกันเถอะ

สร้างวัฒนธรรม 'งานรอได้'

การปล่อยวางจากภาระงานที่กำลังทำโดยคิดว่า 'งานสามารถรอได้' และลุกขึ้นจากที่นั่ง ออกไปใช้เวลาช่วงพักกลางวันให้เต็มที่ผ่านการรับประทานอาหารกลางวันนอกบริเวณโต๊ะทำงานหรือข้างนอกบริษัท อาจเป็นเรื่องราวที่ดีกว่าการต้องมามัวแต่อุดอู้อยู่ในที่โต๊ะทำงานเพียงที่เดียว เพราะข้อดีของการสละเวลาออกไปรับประทานอาหารกลางวันในช่วงพัก ไม่ใช่แค่ช่วยให้ท้องอิ่มและมีเรี่ยวแรง แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอีกมากมายหลายประการ

ดังเช่นผลการวิจัยของ Staples Advantage และ WorkPlaceTrends ที่พบว่า ช่วงพักกลางวันเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการทำให้ตนเองกลับมามีชีวิตชีวาจากการทำงานอีกครั้ง นอกจากนี้เหล่าพนักงาน ผู้ตอบแบบสำรวจที่จัดทำโดย Sharebite ซึ่งร่วมมือกับ Wakefield Research ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การรับประทานอาหารกลางวันช่วยให้พวกเขามีพลังงานมากขึ้น ลดความเหนื่อยล้าจากการนั่งเป็นเวลานาน มีอารมณ์ที่ดีขึ้น และเป็นการให้เวลาพวกเขาได้คิดเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากงานตรงหน้าอีกด้วย

เช่นเดียวกับที่ เจนนิเฟอร์ ดีล นักวิทยาศาสตร์งานวิจัยได้กล่าวไว้ว่า สมองไม่มีโอกาสที่จะเริ่มต้นใหม่โดยไม่หยุดพัก และอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำสิ่งเดิม ๆ ตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับพนักงานว่า พวกเขาต้องการจัดเวลาพักในแต่ละวันอย่างไร แต่การพักที่ดีที่สุดของการทำงาน ก็คงเป็นการพักรับประทานอาหารกลางวันนั่นเอง

ในปัจจุบันวัฒนธรรมการทำงานมนุษย์ออฟฟิศกำลังประสบกับภาวะติดกับดักการทำงานหนัก ที่กว่าจะรู้ตัวนั้น ความขยันก็ได้กลับกลายมาทำร้ายตัวเราเสียแล้ว จนเกิดภาวะ “#Workไร้Balance” ขึ้นแบบไม่รู้ตัว และยิ่งหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทุกอย่างเอื้ออำนวยกับคำว่า “ออนไลน์” มากขึ้น แม้แต่การกินอาหาร เหล่าพนักงานออฟฟิศต่างก็พึ่งการบริการสั่งอาหารเดลิเวอรีมารับประทานหน้าจอกันมากขึ้นจนกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ (New Norm) ในการดำเนินชีวิตไปเสียแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่โต๊ะทำงาน การกินไปทำงานไป หรือบางคนกินอาหารจังก์ฟู้ดอย่างรีบเร่งที่ล้วนส่งผลเสียตามมา ทั้งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความห่างเหินระหว่างเพื่อนร่วมงานเพราะมัวแต่อุดอู้ที่โต๊ะทำงาน ไปจนถึงผลเสียต่อสุขภาพร่างกายละจิตใจ ซึ่งหากอยากให้ชีวิตมีบาลานซ์มากขึ้น ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงความ “ไร้” บาลานซ์เหล่านี้ด้วยการออกจากพื้นที่เดิม ๆ สู่การรับประทานอาหารนอกออฟฟิศในช่วงพักกลางวัน โดยงานวิจัยของ Harvard Health Publishing ชี้ว่า 51% ของพนักงานที่ได้ไปพักรับประทานอาหารกลางวันข้างนอกนั้น จะมีสมาธิเพิ่มขึ้น กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ด้วยเหตุนี้เอง ZEN ในฐานะธุรกิจอาหารชั้นนำจึงได้ร่วมมือกับ SOUR Bangkok เปิดตัว Bento Boss แคมเปญ ‘ข้าวปั้นหน้าบอส’ ที่สร้างสรรค์ประติมากรรมข้าวปั้นหน้า CEO ตัวท็อปของประเทศไทย ที่จะมาจุดประกายและต่อยอดสู่การสร้างมูฟเมนต์ #WorkLunchBalance จนกลายเป็นกระแสสั่นสะเทือนไปทั้งโซเชียลที่จะมาส่งเสริมให้พนักงานได้เพลิดเพลินกับการพักรับประทานอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพนอกออฟฟิศ ที่จะทำให้พวกเขากลับมาทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

พักใจด้วยพักกลางวัน

หลังจากการทำงานอย่างหนักหน่วงในช่วงเช้าของแต่ละวัน ที่บางคนหมดเวลาไปกับการประชุมโดยไม่มีแม้แต่อาหารเช้าหรือกาแฟตกถึงท้อง หรือบางคนหมดเวลาไปกับการเช็กอีเมลที่ไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปเสียที ระยะเวลากว่า 3-4 ชั่วโมงนี้อาจเป็นช่วงเวลาแสนทรมานของใครหลายคน และยิ่งกับช่วงบ่ายที่ระยะเวลาการทำงานต่อกันยาวนานยิ่งกว่าช่วงเช้า การจะผ่านการทำงานในช่วงบ่ายด้วยพลังงานที่สดชื่นพร้อมสู้งานนั้นคงต้องพึ่ง “การพักกลางวัน” ช่วงเวลาแห่งความสุขที่จะทำให้เหล่าพนักงานมีแรงพร้อมที่จะทำงานต่อในช่วงบ่ายของวัน

แน่นอนว่า 'ช่วงพักกลางวัน' กว่า 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงนี้ถือเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสในการเติมเต็มพลังงานและมุ่งความสนใจไปที่ใหม่ๆ แทนการทำงานที่พนักงานทั้งหลายต่างตั้งหน้าตั้งตาคอย เพราะเป็นช่วงเวลาเดียวที่จะได้พักแบบอิสระอย่างเต็มที่ ทั้งยังได้เติมพลังจากการทานอาหารกลางวัน เพื่อให้พวกเขาสามารถรับมือกับครึ่งหลังของวันด้วยพลังงานที่สดชื่น และคลายความตึงเครียดและความเหนื่อยล้าที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและปัญหาสุขภาพจิตจากการทำงานได้เป็นอย่างดี

แต่ทว่า ความเป็นจริงนั้นกลับสวนทางกับวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานส่วนใหญ่ที่มักจะทำงานหลายชั่วโมงติดกันแบบไม่หยุดพัก บ้างก็นำอาหารมื้อเที่ยงมากินบนโต๊ะทำงาน หรือเลือกเมนูง่าย ๆ แบบเร่งด่วนที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อสุขภาพ บ้างก็จิบกาแฟแทนมื้ออาหาร หรือแย่ไปกว่านั้นคือ การงดอาหารกลางวันไปเลย

หากการทำงานที่บริษัทมีเปอร์เซ็นต์การกินอาหารกลางวันหน้าจอที่สูงแล้วนั้น แย่ไปกว่านั้นคือ การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ที่ไม่มีการแบ่งสถานที่ทำงานออกจากการพักผ่อนอย่างชัดเจน และยังไม่มีผู้อื่นมาชวนกันไปพักกลางวัน ก็ยิ่งทำให้การเลือกกินอาหารที่หน้าจอเป็นเรื่องง่ายกว่าที่เคยและก่อให้เกิดผลเสียมากมายตามมา

โดยจากการศึกษาวิจัยหลายชิ้นรองรับว่า การกินอาหารหน้าหน้าจอ ทำให้บริเวณโต๊ะทำงานนั้นเต็มไปด้วยเชื้อโรค โดยเฉพาะคีย์บอร์ดที่มีร่องเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งไม่ใช่แค่เก็บฝุ่น แต่ยังอาจมีเศษอาหารและเชื้อโรคสะสมอยู่ ดังนั้นพฤติกรรมการกินอาหารที่โต๊ะทำงานก็เท่ากับการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งการนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานตลอดทั้งวันยังทำให้มีอาการปวดหลังและเมื่อยตัวได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงตามมา

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...