'CP' เตรียมควัก 3 พันล้าน จ่ายงวดแรกบริหาร 'แอร์พอร์ตลิงก์'

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เป็นอีกหนึ่งโครงการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนที่มีความล่าช้ากว่าแผน โดย “จุฬา สุขมานพ” เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ออกมายอมรับว่า ขณะนี้คาดว่าโครงการจะล่าช้าไปประมาณ 1 ปี จากเดิมที่คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570 ไปเป็น 2571

สืบเนื่องจากขณะนี้เอกชนยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เพราะมีเงื่อนไขของการออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) ทางเอกชนคู่สัญญาจำเป็นต้องได้รับหนังสืออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยจากการประเมินในขณะนี้ โครงการไฮสปีดเทรนปกติต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี ดังนั้นตามแผนปัจจุบันจะผลักดันให้เริ่มก่อสร้างในปี 2567 จึงคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2571 ทำให้การเปิดให้บริการได้ช่วงประมาณปี 2571

อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นดำเนินโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ล่าสุดที่ประชุมเจรจาหลักการเพื่อการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการนี้ ซึ่งประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สกพอ. และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา ได้มีมติร่วมกันถึงแนวทางแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยเตรียมเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นชอบในเดือน ม.ค.นี้

นายอนันต์ โพธ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยว่า การแก้ไขสัญญาใหม่ขณะนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว โดยจะเตรียมรายละเอียดเสนอไปยังสำนักอัยการสูงสุดพิจารณาภายในเดือน ม.ค. 2567คาดว่ากระบวนการต่างๆ จะใช้เวลาพิจารณาราว 30 วัน ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ เบื้องต้นจึงคาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ร่วมกับเอกชนคู่สัญญา บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ภายในเดือน พ.ค.2567

โดยเมื่อมีการลงนามสัญญาใหม่ เงื่อนไขสัญญาระบุไว้ว่าเอกชนจะต้องเริ่มจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามที่เสนอขอผ่อนจ่ายรวม 7 งวด แบ่งเป็น งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน  5,328.47 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญาแล้วเสร็จ เอกชนจะต้องจ่ายค่าสิทธิรวม 3 งวด วงเงินรวมกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งเป็นยอดชำระย้อนหลังรวม 3 ปี ระหว่างปี 2564 – 2566 ส่วนที่เหลืออีก 4 งวด จะจ่ายตามกำหนดสัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.ของแต่ละปี

โดยหากแบ่งการชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ออกเป็น 7 งวด ของแต่ละปี ได้แก่

งวดที่ 1 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท

งวดที่ 2 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท

งวดที่ 3 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท

งวดที่ 4 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท

งวดที่ 5 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท

งวดที่ 6 จำนวน 1,067.11 ล้านบาท

งวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภายหลังการแก้สัญญาแล้ว ร.ฟ.ท. จะยังคงได้รับค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ครบจำนวน 10,671 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของ ร.ฟ.ท.อีกจำนวน 1,060 ล้านบาท รวมได้รับเป็นวงเงิน 11,731 ล้านบาท

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...