วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี BANKING SECTOR - จัดการหนี้สำหรับกลุ่มเปราะบางลดความเหลื่อมล้ำ

1) ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แบ่งเป็นลูกหนี้รายย่อยที่ส่วนใหญ่มีหนี้เสียกับธนาคารออมสินและธกส. โดยคาดจำนวน 1.1 ล้านราย และ SME ที่เป็นหนี้เสีย 100,000 ราย โดยผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลดดอกเบี้ยลง 1%
และพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ SMEs ที่อยู่กับแบงก์รัฐเป็นเวลา 1 ปี รวมถึงยกเลิกสถานะหนี้เสีย NPL

2) ลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำที่มีภาระหนี้จำนวนมากเกินศักยภาพ ได้แก่ กลุ่มข้าราชการครู ตำรวจ ทหาร ที่มีหนี้กับสถาบันการเงินและหนี้บัตรเครดิต ผ่านการลดดอกเบี้ยไม่ให้สูงเกินไป โอนหนี้ไปที่เดียวเช่นที่สหกรณ์เพื่อตัดเงินเดือนนำมาชำระหนี้ได้
สะดวก แต่หักไม่เกิน 70% ของเงินเดือน ปรับโครงสร้างหนี้ผ่าน ‘คลีนิคแก้หนี้’ ผ่อนได้นาน 10 ปี และลดดอกเบี้ยเหลือ 3.5% ต่อปี แนวทางแก้ไขหนี้ครูประมาณ 9 แสนคน

3) กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอนทำให้ชำระคืนหนี้ไม่ต่อเนื่อง ได้แก่ เกษตรกร ลกหนี้เช่าซื้อ และลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยการพักชำระหนี้ชั่วคราว ลดดอกเบี้ย ลดเงินผ่อนชำระต่องวด ถอนอายัติบัญชี ให้ผู้ค้ำประกันหลุดจากการค้ำประกัน ทั้งนี้รัฐบาลได้มีโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรแล้ว โดยพักทั้งหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย3 ปี ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมแล้วกว่า 1.5 ล้านราย และหนี้นักเรียนกยศ.ประมาณ 5 ล้านคน สำหรับแนวทางแก้หนี้เช่าซื้อ สคบ.จะกำหนดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์และรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกิน 10%

4) กลุ่มหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินของรัฐมาเป็นระยะเวลานาน กลุ่มนี้จะโอนไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐและบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยการปรับโครงสร้างหนี้

 

 

Analysis

ไม่มีผลกระทบหุ้นกลุ่มแบงก์แต่คาดผลกระทบเล็กน้อยต่อกลุ่ม Finance

เนื่องจากโครงการนี้มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธกส. และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) เราจึงมองผลกระทบจำกัดต่อ KTB หรือ แทบจะไม่มีผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มแบงก์ นอกจากนี้ลูกค้าในกลุ่มแบงก์ยังเป็นคนละกลุ่มกับที่ทางภาครัฐเข้าให้การช่วยเหลือ สำหรับด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถใหม่ที่จะมีการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารไม่เกินระดับเพดานที่กำหนดอยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบ แต่อาจจะมีผลกระทบทางลบเล็กน้อยต่อกลุ่ม Finance

 

Action/ Implication

เรามีมุมมอง Neutral ต่อกลุ่มธนาคาร เรามองการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไปยังหุ้นกู้ระยะยาว จึงทำให้หุ้นกลุ่มแบงก์ underperformed รวมถึงตลาดหุ้นไทยโดยรวมด้วย เนื่องจากความไม่แน่นอนทาง
เศรษฐกิจ อัตราส่วนหนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะ หนี้เอกชนในระดับสูงต่อ GDP และ ความเสี่ยงทางด้านนโยบายของภาครัฐ นอกจากนี้เราคาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อจะเติบโตเพียงเล็กน้อย ขณะที่ NIM อาจจะทรงตัวหรือลดลงตามกลยุทธ์ของ
แต่ละแบงก์ อย่างไรก็ดีกลุ่มธนาคารไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านของสภาพคล่อง การตั้งสำรองที่สูง เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูง คุณภาพสินทรัพย์ที่จัดการได้และมีนโยบายที่เข้มงวด valuation ที่ไม่แพงและอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ดี

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อเมริกันดราม่า! กองเชียร์จี้ไบเดนลาออก เปิดทาง ‘ประธานาธิบดีแฮร์ริส’ สู่ทำเนียบขาว

เว็บไซต์ Times Now รายงานว่า แม้แฮร์ริสจะยอมรับความพ่ายแพ้ไปแล้วและขอให้ผู้สนับสนุน “สู้ต่อไป” แต่บร...

อีลอน มัสก์ หนุนทรัมป์แทรกแซง 'เฟด' ชูประเด็น #EndtheFed ให้ปธน.คุมแบงก์ชาติ

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทเทสลาและสเปซเอ็กซ์ และเป็นเจ้าของแ...

การกลับมาของวัฒนธรรม Gothic ทางเลือกของ Gen Z ท่ามกลางป๊อปคัลเจอร์

วัฒนธรรมกอธิค หรือโกธิคที่มีรากฐานมาจาก Dark Romantic ความเข้มข้นทางอารมณ์ และการแสดงออกถึงตัวตนที่แ...

คาด 'วันคนโสดจีน' 11.11 ปีนี้ ยอดขายดีขึ้น แต่แบรนด์เนมหรูยังฟื้นยาก

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เทศกาลวันคนโสด 11.11 ซึ่งเป็นเทศกาลชอปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในรอบปีของจีน แล...