ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือนยังฟื้นต่อเนื่องเดือน ต.ค.66 เพิ่ม 8.73%

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือจีไอที( GIT) เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนต.ค.2566 มีมูลค่า 748.21 ล้านดอลล่าร์เพิ่มขึ้น 8.73% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำ มีมูลค่า 1,576.92 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 30.69% เพราะมีการส่งออกทองคำไปเก็งกำไร จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น และรวม 10 เดือน ของปี 2566 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออก ไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 7,391.86 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 9.05% และรวมทองคำ มูลค่า 12,705.21 ล้านดอลลาร์ ลดลง 6.76%

สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยฮ่องกง เพิ่ม 185.11% อิตาลี เพิ่ม 37.56% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 6.30% ส่วนสหรัฐฯ ลด 11.44% อินเดีย ลด 51.77% เยอรมนี ลด 15.41% สหราชอาณาจักร ลด 4.62% สวิตเซอร์แลนด์ ลด 8.16% สิงคโปร์ ลด 30.90% และเบลเยียม ลด 2.95%

 ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยเครื่องประดับทอง เพิ่ม 26.42% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 1.15% พลอยก้อน เพิ่ม 7.23% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 79.78% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 96.71% อัญมณีสงเคราะห์ เพิ่ม 55.18% ส่วนเครื่องประดับเงิน ลด 9.89% เพชรก้อน ลด 28.25% เพชรเจียระไน ลด 26.85% เครื่องประดับเทียม ลด 5.93% และทองคำ ลด 22.41%

นายสุเมธ กล่าวว่า   แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนจากการที่หลายประเทศสำคัญสามารถกลับมาจัดงานแสดงอัญมณีและเครื่องประดับ มีคำสั่งซื้อเพื่อเตรียมรับการบริโภคจากเทศกาลใช้จ่ายปลายปี ทั้งช่วงคริสมาสต์และปีใหม่ และค่าเงินบาทอ่อนค่า เป็นปัจจัยส่งเสริมให้สินค้าไทยแข่งขันได้

แต่ก็ต้องจับตาเศรษฐกิจของหลายประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว อย่างสหรัฐฯ และยุโรป ที่มีสัญญาณว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยสูงนานกว่าที่คาด เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ส่วนการบริโภคในยุโรปและจีน ที่ยังขาดปัจจัยสนับสนุน จึงลดการใช้จ่ายและเก็บออมมากขึ้น รวมทั้งยังมีความกังวลปัญหาการสู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาส และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในแห่งอื่น ๆ ที่ยังคงมีอยู่

 ทั้งนี้ ประเมินว่า สินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะมีการนำเทรนด์ที่กำลังเป็นกระแส หรือที่สามารถหลอมรวมเข้ากับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับก่อให้เกิดเป็นสินค้าในไลน์ใหม่ ๆ ทำให้สามารถขยายฐานผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้น เช่น สินค้า Art Toy ที่ผสมเข้ากับความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ออกมาเป็นคอลเลกชันเฉพาะให้ทั้งสายมูเตลูและผู้ชื่นชอบ Art Toy ได้สะสม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างเสริมความน่าสนใจให้สินค้าได้

ขณะที่การนำ Art Toy มาผสมผสานเป็นเครื่องประดับชาร์ม หรือจี้ประดับ มีตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างแบรนด์ Ravipa ที่ประสบความสำเร็จ กระทั่งขึ้นชื่อเครื่องประดับสายมูสุดปังที่ติดตลาด แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่าเทรนด์ใหม่ ๆ ในปัจจุบันเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องเลือกจับคู่ให้เข้ากับสินค้าแต่ละแบบทั้ง Mass Market หรือ Unique Market และมีความฉับไวในการหาโอกาสเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...