เปิด 4 กลุ่มผู้ต้องขังส่งตัวรักษานอกเรือนจำ-เงื่อนไขส่งต่อรพ.เอกชน

เมื่อผู้ต้องขังเจ็บป่วยในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลจะเป็นผู้ให้การดูแลเบื้องต้น หากอาการป่วยเกินขีดความสามารถของสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่จะรายงานผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อพิจารณาส่งตัวออกไปรับการรักษา ที่โรงพยาบาลภายนอก ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังหรือต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลานาน ทางเรือนจำอาจพิจารณาส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาที่ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือหากเกินความสามารถของโรงพยาบาลราชทัณฑ์จะส่งต่อให้กับโรงพยาบาลในเครือที่มีความพร้อมในการรักษาโรคต่อไป

ผู้ต้องขังป่วย คือ ผู้ต้องขังโดยทั่วไปที่มีอาการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนผู้ต้องขังที่ติดฝิ่น กัญชา สิ่งเสพติดฝิ่นซึ่งมีอาการร้ายแรง หรือ หญิงมีครรภ์ หรือมีลูกอ่อน ซึ่งจัดเป็นผู้เจ็บป่วยโดยอนุโลมประกอบด้วย

  • ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยทางร่างกาย
  • ผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยทางจิตใจ
  • ผู้ต้องขังหญิงมีครรภ์หรือมีลูกอ่อน
  • ผู้ต้องขังติดยาเสพติดให้โทษ

แนวทางพิจารณาส่งผู้ต้องขังป่วยออกไปรักษาภายนอกเรือนจำ

  • พิจารณาแต่เฉพาะที่เห็นว่ามีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้นที่จะต้องออกไปรักษา ภายนอกและพิจารณาให้ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐเป็นอันดับแรก เว้นแต่แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยแล้วมีความเห็นให้ ส่งไปรักษาโรงพยาบาลเอกชน เพราะโรงพยาบาลรัฐขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะรักษาซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทุพพลภาพเมื่อพ้นขีดอันตรายแล้วให้รีบส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐโดยเร็ว

การปฏิบัติกรณีออกไปรักษาตัวภายนอกเรือนจำ (ไป - กลับ ในวันเดียว)

กรณีผู้ต้องขังป่วยต้องไปรับการตรวจหรือรักษายังโรงพยาบาลภายนอกเรือนจำ โดยไป - กลับ ในวันเดียว ต้องขออนุญาต ผู้บัญชาการเรือนจำในการนำตัวผู้ต้องขัง ออกไปโรงพยาบาล (ทั้งกรณีปกติหรือกรณีฉุกเฉินตามแต่เหตุการณ์) โดยเจ้าหน้าที่ ผู้ควบคุมจะต้องขอหลักฐานใบรับรองแพทย์ ซึ่งระบุชื่อผู้ต้องขัง ชื่อโรค อาการเจ็บป่วย วันที่ และสถานที่ที่รักษาตัวให้ชัดเจน แล้วรายงานผู้บัญชาการเรือนจำทราบและในการ ควบคุมถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการนำผู้ต้องขังป่วยส่งโรงพยาบาล

การปฏิบัติกรณีผู้ต้องขังต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

  • เมื่อนำผู้ต้องขังป่วยไปรักษาตัวภายนอกเรือนจำแล้ว แพทย์มีความเห็นว่าต้องนอน พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเจ้าหน้าที่จะต้องขอใบแสดงความเห็นแพทย์ผู้รักษา
    • ระบุชื่อผู้ต้องขัง
    • ชื่อโรค
    • วันที่แพทย์รับตัวระยะเวลาในการรักษา

นำเสนอต่อผู้บัญชาการ เรือนจำ/ผู้อำนวยการทัณฑสถาน เพื่อพิจารณาอนุญาตในการอยู่พักรักษาตัวที่ โรงพยาบาลตามความเห็นแพทย์และความจำเป็นแห่งโรคและอาการ หากผู้ต้องขังต้อง พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมต้องขอใบแสดงความเห็นแพทย์เป็นระยะๆ โดยระบุวันที่อยู่พักรักษาตัวให้ต่อเนื่องและชัดเจน

  • ผู้ต้องขังป่วยซึ่งได้รับการบำบัดรักษายังโรงพยาบาลภายนอกมาเป็นเวลาสมควร แต่อาการเจ็บป่วยยังไม่ทุเลา เพื่อความปลอดภัยในการควบคุมให้เรือนจำขออนุมัติกรมฯ เพื่อย้ายผู้ต้องขังป่วยไปรับการรักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ หรือย้ายไป ยังเรือนจำที่มีเขตท้องที่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาลที่แพทย์ผู้ทำการรักษามีความเห็นว่า สามารถที่จะรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้ต้องขังนั้นได้หากเป็นผู้ต้องขังที่คดียังไม่ถึงที่สุด แจ้งให้ศาลทราบด้วย

กรณีเป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาคดี เมื่อมีความจำเป็นต้องออกไปรักษาตัวภายนอกเรือนจำ อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยหรือญาติยื่นคำร้อง ขอศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว (ประกันตัว) เพื่ออกไปรักษาตัวภายนอกเรือนจำได้ หรือ ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 246 เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ.2550 มาตรา 5

ทั้งนี้ สิทธิในการรักษาพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการยังสถานพยาบาลที่มีความเหมาะสมในการดูแลรักษา เมื่อผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉิน หรือเกินขีดความสามารถในการดูแลเป็นสิทธิที่ผู้ป่วยพึงจะได้รับจากการดูแลทางสาธารณสุขอย่างเท่าเทียมกัน โดยรัฐจะต้องให้ความคุ้มครองอย่างเสมอภาคตามหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากภาวะเจ็บป่วยนั้น ซึ่งผู้ต้องขังส่วนใหญ่ที่เป็นประชาชนคนไทย มีเลขประจําตัว 13 หลักจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป คือสิทธิหลักประกันสุขภาพ และสิทธิการรักษาอื่น เช่น สิทธิการรักษาประกันสังคม สิทธิการรักษาพยาบาลข้าราชการ รวมถึงผู้ต้องขังต่างชาติและผู้ต้องขังคนไทยไร้สิทธิ (ไม่มีเลขประจําตัวประชาชน 13 หลัก)

ขอบคุณข้อมูลจาก : correct,วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุขและทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ภาพจาก : Shutterstock

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...