‘สภาพัฒน์’ - ‘TDRI’ จับตาหุ้นกู้ 1 ล้านล้าน หวั่นระเบิดเวลา ‘เศรษฐกิจปี 67’

ในปี 2567 มีหุ้นกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดชำระ 8.9 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นหุ้นกู้ประเภทดอกเบี้ยสูง (High Yield Bond) ที่มีมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ไฟแนนซ์ และพลังงาน โดยประเด็นของหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระและโรลโอเวอร์จำนวนมากในปีหน้าทำให้เกิดความกังวลว่าจะ

นอกจากนี้เรื่องของหุ้นกู้ที่จะครอบกำหนดโรลโอเวอร์จำนวนมากในปี 2567 ยังได้เป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่คนในฟากฝั่งรัฐบาลใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำอธิบายภาวะวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจในปี 2567 ถ้าหากมามีนโยบายกระตุนเศรษฐกิจด้วยการออกนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต

โดยก่อนหน้านี้นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าในเดือนเม.ย.2567 จะมีการครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้จำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นแพราะหากไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ บริษัทจดทะเบียนที่ระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้และกำหนดไถ่ถอนในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไม่ดีก็จะกระทบกับต้นทุนในการระดมทุน หรืออาจขายหุ้นกู้ฯได้ไม่ครบจำนวนได้ รัฐบาลจึงพยายามที่จะผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นายกฯสั่งรับมือผิดหากมีการผิดนัดชำระหนี้

ขณะที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยกับ “เครือเนชั่น” ว่าเรื่องของหุ้นกู้ที่จะมีการครบกำหนดชำระแล้วต้องโรลโอเวอร์จำนวนมากได้มีการหารือกับหลายฝ่ายรวมทั้งสถาบันการเงินแล้วว่าถ้ามีปัญหาเรื่องนี้จะปล่อยไปไม่ได้ เพราะได้มีการติดตาม และบอกว่าให้ช่วยดูเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ 

ซึ่งได้หารือกับปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ให้ดูแลเรื่องเหล่านี้ และเอาข้อมูลมาดูแล้วติดตามร่วมกัน เหนือสิ่งอื่นใดสถาบันการเงินต้องดูว่าลูกหนี้รายใดเริ่มที่มีสัญญาณที่จะผิดชำระหนี้จะต้องลงไปแก้ไขอย่างรวดเร็ว

สศช.จับตาปัจจัยกดดันตลาดบอนด์ไทย

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยใน การแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส3/66 ของสศช.ว่าความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมาช่วงหนึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ กดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนค่าลง และสร้างความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุน ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวดีกว่าที่คาด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่นักลงทุนทั่วโลกได้เคยประเมินไว้

กดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นไปสู่ 4.61% ในวันที่ 27 กันยายน 2566 สูงที่สุดในรอบ 16 ปี ซึ่งส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก และสร้างความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะค่าเงินของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาท ที่มีทิศทางอ่อนค่าลง ขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น (Search for Yield) ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกมีความผันผวน สะท้อนจากดัชนีความผันผวน (Volatility Index) ของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเศรษฐกิจหลักที่ปรับตัวสูงขึ้น

ชี้ปัญหาธรรมาภิบาลกระทบความเชื่อมั่น

สำหรับประเทศไทย นอกจากจะต้องเผชิญปัจจัยกดดันจากภายนอกดังกล่าวแล้วยังมีปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะสถานการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ที่ส่งผลต่อความกังวลด้านธรรมาภิบาล การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท ผู้ออกหุ้นกู้ในตลาดตราสารหนี้ รวมไปถึงแนวโน้มอุปทานพันธบัตรที่อาจจะเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ความต้องการใช้เงินของรัฐบาล เป็นอีกปัจจัยที่กดดันให้เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารหนี้ของประเทศไทย ณ ไตรมาสที่สามของปี 2566 ไหลออกสุทธิ 2,136.20 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 โดยเฉพาะหลังการโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาส พบว่า มีเงินทุ่นไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์ในอัตราที่ชะลอลง แต่มีเงินทุนไหลกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากตลาดตราสารหนี้และค่าเงินบาทของไทยมีปัจจัยพื้นฐานที่อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับมีการรายงานภาวะการส่งออกไทยเดือนกันยายน 2566 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าเนื่องจากเงินทุนไหลเข้า

 

"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ 3 ปัจจัยกดดันตลาดบอนด์

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่าในเรื่องของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระหรือโรลโอเวอร์ในปีหน้าเป็นจำนวนมาก ถือว่ามีความน่ากังวลอยู่บ้าง เพราะช่วงที่ผ่านมามีการผิดนัดชำระหนี้ไปหลายกรณี และปัจจัยที่ส่งผลกระทบในปีหน้าทำให้น่ากังวลใจมากขึ้น มี 3 ปัจจัยได้แก่

  1. ดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง ต้นทุนทางการเงินในการทำธุรกิจจึงสูง  
  2. เศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยภาพ และล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดประมาณการการเติบโตลง ซึ่งนำไปสู่แนวโน้มผลประกอบการที่แย่ลง 
  3.  ความเชื่อมั่นในหุ้นกู้ที่ลดลงอาจจะทำให้บริษัทไม่สามารถออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนตัวที่ครบกำหนดได้ครบจำนวน หรืออาจจะต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยที่สูงเพื่อให้ครบจำนวน

“ทั้ง 3 ปัจจัยนำไปสู่ความเสี่ยงของหุ้นกู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหุ้นกู้ก็จะมีเกรดต่างๆ ที่ใช้วัดความเสี่ยงอยู่แล้ว ก็จะเสี่ยงมากขึ้นในหลายบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวที่เป็น non-investment grade หรือตัวที่ผลประกอบการแย่ลง เป็นต้น”

เมื่อถามว่าจะมีโอกาสเกิดการล้มลงของบริษัทที่ออกหุ้นกู้จำนวนมากเป็นโดมิโน่ในเศรษฐกิจไทยหรือไม่ นายนณริฏ กล่าวต่อว่าส่วนตัวเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบริษัทมากกว่าจะเชื่อมโยงกัน

ส่วนการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐในส่วนนี้นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอกล่าวว่าภาครัฐควรจะเข้ามาจัดการในกรณีที่เป็นการฉ้อโกง คือ การทำธุรกิจมิชอบโดยเอาเงินจากหุ้นกู้มาเสี่ยง หรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการระดมทุน แต่ถ้าเป็นการผิดนัดชำระจากเหตุผลอื่นๆ คิดว่ากลไกที่มีตามปกติก็น่าจะจัดการได้ดีพอสมควรอยู่แล้ว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...