YLG ลุ้นทองคำยืนเหนือ 2,000 ดอลลาร์ ก่อนปรับเทรนด์สู่ขาขึ้น

นางพวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  (YLG)  กล่าวว่า ในระยะสั้นทองคำมีความผันผวนเคลื่อนไหวลักษณะดีดกลับสลับปรับตัวลง อย่างไรก็ตามโมเมนตัมจะเป็นบวกมากขึ้น หากการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสามารถยืนเหนือโซน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ได้ และหากดีดตัวทะลุโซน 2,070-2,079 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ได้ จะทำให้ทิศทางทองคำกลับมาเป็นขาขึ้นอีกรอบ เนื่องจากเป็นระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกันถึง 3 ครั้ง  

อย่างไรก็ตามหากไม่ผ่าน 2,070-2,079 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ อาจจะมีโอกาสแกว่งตัวลง นโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ที่ยังต้องติดตามต่อเนื่อง แม้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐจะออกมาค่อนข้างดี

ขณะเดียวกันทองคำในประเทศก็ได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่เริ่มกลับมามีสัญญาณแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าหากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องก็จะทำให้ทองคำในประเทศแกว่งตัวลงเช่นกัน จากปัจจัยทองคำในตลาดโลกที่ยังมีโอกาสแกว่งตัวลงในระยะสั้น และทองคำในประเทศที่ได้รับแรงกดดันจากเงินบาท

จึงแนะนำให้นักลงทุนเก็งกำไรระยะสั้นตามรอบ และทยอยขายหากมีกำไร โดยมองกรอบแนวรับระยะสั้นที่ 1,956-1,974 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ แนวต้านที่ 2,027-2,048 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ และแนวต้านถัดไปที่ 2,079 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์

ส่วนทองคำในประเทศให้แนวรับที่ 32,650-32,950 บาทต่อบาททองคำ แนวต้านที่ 33,850-34,200 บาทต่อบาททองคำ และ 34,750 บาทต่อบาททองคำ  (คำนวณด้วยค่าเงินบาท 35.25 บาทต่อดอลลาร์ ณ วันที่ 23 พ.ย.2023 เวลา 10.30น.)

อย่างไรก็ดีหากราคาทองคำยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง นักลงทุนสามารถใช้จังหวะทยอยสะสม โดยการแบ่งรอบในการซื้อ เนื่องจากปัจจุบันทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความหวั่นไหวด้านภูมิรัฐศาสตร์

ดังจะเห็นได้จากธนาคารกลางทั่วโลกที่สะสมทองคำอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์และรองรับเทรนด์การลดการถือครองดอลลาร์สหรัฐ  โดยไตรมาส 3/2566 สภาทองคำทั่วโลกได้รายงานว่าเข้าซื้อทองคำสูงสุดในรอบปีสูงกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 5 ปีถึง 8% ประเทศที่เข้าซื้อมากสุดคือ จีน โปแลนด์ สิงคโปร์ ลิเบีย และอินเดีย ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่สะสมทองคำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยช่วง 3 ปีล่าสุด ไทยถือครองเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน และเป็นอันดับ 11 ของโลก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...