ไทย ดันแผน พัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ป้องผลประโยชน์ของประเทศ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยครั้งที่ 2/2566ว่า ได้พิจารณาเตรียมการสำหรับการเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 30 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 28 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีกรอบการหารือที่สำคัญได้แก่  

1.องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุม และ 2. การอนุมัติTORของผู้บริหารสูงสุดของสำนักเลขาธิการกรรมาธิการแม่น้ำโขง(MRCS CEO)เพื่อสรรหาคนของประเทศไทยเข้ารับตำแหน่ง โดยจะดำเนินการสรรหาในปี2567และเข้าดำรงตำแหน่งในปี ม.ค.2568 -ม.ค.2571 

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบการหารือในการประชุมดังกล่าว พร้อมมอบหมายให้สทนช. เสนอต่อ ครม. ให้ความเห็นชอบ และให้เสนอองค์ประกอบของคณะผู้แทนไทย ต่อ ครม. เพื่อทราบในคราวเดียวกันด้วยพร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบต่อการปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยโดยเพิ่มผู้แทน 2 หน่วยงาน ได้แก่

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การให้ข้อคิดเห็นด้านวิชาการและการพิจารณากำหนดท่าทีของฝ่ายไทยในการประชุมเป็นไปอย่างรอบคอบรัดกุม และครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้การกำหนดนโยบายของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัมพันธ์กับสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในระดับประเทศและระดับภูมิภาค สอดคล้องตามหลักการที่เป็นสหวิชาการและบรรลุผลตามเจตนารมณ์ภายใต้พันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 โดยจะมีการลงนามคำสั่งแต่งตั้งต่อไป

 

“คณะกรรมการยังได้ติดตามความคืบหน้าของกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคามและเขื่อนภูงอย ของ สปป.ลาว โดยสำหรับทั้งสองโครงการ สทนช. ได้ประสานงานกับMRCSและประเทศสมาชิก เพื่อดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยในวันนี้ได้เน้นย้ำให้ สทนช. เร่งดำเนินการตามมติที่ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานต่าง ๆ ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยอย่างใกล้ชิด

 

และยังได้เน้นย้ำหน่วยงานให้ความร่วมมือกับ สทนช. อย่างเคร่งครัด โดยนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปดำเนินการต่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งรักษาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน” 

นายสุรสีห์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ติดตามประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์แม่น้ำโขงและการคาดการณ์ล่วงหน้าจนถึงสิ้นปี ความความก้าวหน้าของการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU)ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ ระหว่าง สทนช. แห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเร่งรัดจัดทำ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุตุ – อุทกวิทยา และข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการเขื่อนตอนบนในลุ่มน้ำโขงที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำตอนล่ างและส่งผลถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ 8 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นไปอย่างรวดเร็วและคล่องตัว ทันต่อการบริหารจัดการน้ำและแจ้งเตือนประชาชนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นต้น

โดย สทนช. จะเร่งดำเนินการตามมติที่ประชุมและปฏิบัติตามข้อกำชับของรองนายกรัฐมนตรี เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแม่น้ำโขงร่วมกับประเทศสมาชิก ควบคู่ไปกับการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...