แห่โยก 'เงินฝากออมทรัพย์' ลงทุน'กองทุน - บอนด์ - ทองคำ' เหตุรีเทิร์นสูงกว่า

แม้ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง จากระดับ 0.5% จนมาอยู่ที่ระดับ 2.5% ในปัจจุบัน ส่งผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นตามด้วย ซึ่งตามทฤษฎีแล้วก็น่าจะทำให้ “เงินฝาก” ในธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่จากข้อมูลล่าสุด กลับพบว่า เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ "ลดลง" อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งติดลบครั้งแรกในรอบ 10 ปี!!  

สำหรับพอร์ตเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จำนวน 10 แห่ง จากงบไตรมาส 3 ปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่าเงินฝากโดยรวมช่วง 9 เดือน มีทิศทางปรับลดลงต่อเนื่องราว 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมาอยู่ที่ระดับ 15.18 ล้านล้านบาท

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมเงินฝากโดยรวมของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 17 แบงก์ ล่าสุด 9 เดือนที่ผ่านมา มีการขยายตัว "ติดลบราว 1%" หากเทียบกับสิ้นปีก่อน เหตุผลหลักมาจาก การปรับดอกเบี้ยของผลิตภัณฑ์เงินฝาก โดยเฉพาะเงินฝากประจำพิเศษเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการโยกเงินฝากจากบัญชีออมทรัพย์ ไปสู่บัญชีฝากประจำมากขึ้น

นอกจากนี้ จากผลตอบแทนจากตราสารหนี้ ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่จูงใจให้ผู้ฝากโยกเงินฝากไปลงทุนมากขึ้น ! สอดคล้องกับจำนวนตราสารหนี้ที่ออกมาในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา รวมอยู่ที่ 298 กองทุน คิดเป็นมูลค่าเสนอขายราว 8.65 แสนล้านบาท

ซึ่งแบ่งออกเป็น "กองทุนสำหรับรายย่อย" จำนวน 236 กองทุน มูลค่าเสนอขายที่ 5.7 แสนล้านบาท ที่ส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยเฉพาะหากเทียบการถือตราสารหนี้ระยะเวลา 6 เดือน ให้ผลตอบแทนเกิน 2.2% ต่อปี แต่หากเทียบกับการฝากเงิน หากเทียบกับเงินฝากของแบงก์ใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนเพียงแค่ระดับ 1.15-1.25% เท่านั้น หรืออายุ 1 ปี ที่ให้ผลตอบแทนเพียงแค่ระดับ 1.55-1.70%

“หากดูนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ตัวเลขเงินฝากลดลงต่อเนื่อง พบว่าเป็นการทยอยออกไป แม้ดอกเบี้ยเงินฝากดอกเบี้ยสูงขึ้น แต่หากเทียบกับโปรดักต์อื่นๆ เช่น กองทุน ผลตอบแทนต่ำกว่ามาก ทำให้เห็นการไหลออกของเงินฝาก โดยเฉพาะในช่วงที่ยีลด์ในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้กองทุนกลับมาน่าสนใจสูงขึ้น”

ทั้งนี้ การโยกเงินฝากไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นนั้น ส่งผลให้สัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ พอร์ตเงินฝากเปลี่ยนไป โดยพบว่า เงินฝากออมทรัพย์ มีสัดส่วนเงินฝากลดลงเหลือเพียง 70.6-71% หากเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมา ที่อยู่ระดับ 73.7% ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ สัดส่วนขยับขึ้นมาอยู่ที่ 29-29.4% หากเทียบกับสิ้นปีก่อนที่อยู่เพียง 26.3% เท่านั้น

สำหรับ ในภาพรวมของเงินฝากทั้งปี 2566 คาดว่ายังคงมีอัตราของการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ประมาณ 0.4-0.6% หรือ 15.92 ล้านล้านบาท 

นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB กล่าวว่า พอร์ตเงินฝากของระบบแบงก์พาณิชย์ที่ปรับตัวลดลง มองว่าบางส่วนลูกค้าโยกไปซื้อ "กองทุน" โดยเฉพาะในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้พอร์ตกองทุนมีทิศทางการเติบโตมากขึ้นอย่างชัดเจน 

เช่นเดียวกันกับการ หันไปซื้อหุ้นกู้ของบริษัทใหญ่ๆ ที่ออกมาค่อนข้างมาก ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมารวมไปถึง การนำเงินฝากบางส่วน ไปลงทุนเพิ่มเติมในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ อย่าง ทองคำ ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า สำหรับการเคลื่อนย้ายเงินฝากไปสู่สินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ถือเป็นภาวะปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการบริหารสินทรัพย์ และบริหารผลตอบแทนของผู้ฝากเงิน ซึ่งส่งผลให้เงินฝากโดยรวมสามารถปรับขึ้นหรือปรับลดลงได้เสมอ 

“ดังนั้น เงินฝากก็สามารถปรับขึ้นหรือปรับลงได้เป็นสถานการณ์ปกติ และปัจจุบันก็ยังไม่พบว่า มีปัญหาอะไร ถือเป็นการปรับพอร์ตปกติของพอร์ตเงินฝาก”

นายติยะชัย ชอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์การออม ธุรกิจรายย่อย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT กล่าวว่า สำหรับทิศทางการไหลออกของเงินฝาก ส่วนหนึ่งมาจาก "กลุ่มลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ก" ที่มีสินทรัพย์ระดับสูง ดำเนินการโยกเงินในบางส่วนไปแสวงหาผลตอบแทนที่สูงมากขึ้นไปอีก สะท้อนผ่านการใช้โอกาสในการเข้าไปลงทุนในช่วงที่บอนด์ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ที่มี "ความเสี่ยงระดับต่ำ" เพื่อเข้าไปลงทุน ดังนั้น จะส่งผลให้เห็นภาพของการกระจายตัวของเงินฝากไปสู่สินทรัพย์ประเภทอื่นๆ มากขึ้นในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ยังคงเชื่อว่า แนวโน้มเงินฝากของธนาคารยังสามารถเติบโตได้ในปีนี้ที่ระดับ 10-20% โดยเฉพาะ "เงินฝากดิจิทัล" ที่ปัจจุบันเห็นการเติบโตแล้วกว่า 20% หลังจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เงินฝากในช่วงที่ผ่านมา เช่น บัญชี Chill D ที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึงระดับ 2.88% หรือ บัญชี Speed D+ ที่ให้ผลตอบแทนระดับสูงที่ 1.88% หรือแม้แต่เงินฝากประจำในระยะเวลา 18 เดือน โดยมีดอกเบี้ยสูงสุดที่ระดับ 2.40%

“เราอยู่ระหว่างการปรับโปรดักต์เงินฝาก เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ และเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น โดยอยู่ระหว่างการทบทวนในการขยับวงเงินฝาก ในกลุ่มผู้ฝากเงินในแต่ละโปรดักต์ผลิตภัณฑ์ให้สามารถฝากได้มากขึ้น เช่น Speed D+ ที่อาจจะขยายฝากสูงสุดไปถึง จำนวน 30 ล้านบาท จากเดิมกำหนดไม่เกินจำนวน 5 ล้านบาท โดยสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสรับดอกเบี้ยเงินฝากได้เพิ่มขึ้น" 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...