สถาบันอัญมณีและเครื่องประดับเตือนภัยทองคำปลอมระบาด

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า ได้รับรายงานพบกลโกงใหม่ในการขายทองคำปลอม โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีการนำผงโลหะทังสเตน ซึ่งมีน้ำหนักใกล้เคียงกับทองคำไปผสมในก้อนโลหะทองคำ และหลอมเป็นทองคำ รวมถึงทำเป็นตัวเรือน โดยนิยมทำเป็นลักษณะทองรูปพรรณเก่าเก็บ ทำให้ผู้รับซื้อไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า เพราะการตรวจสอบทั่วไป รวมถึงห้องปฏิบัติการตรวจสอบขนาดเล็กที่มีเครื่องมือไม่เพียงพอ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบส่วนผสมดังกล่าว

 “การตรวจสอบว่าเป็นทองคำแท้ จะต้องนำไปหลอมเพื่อแยกธาตุเคมี หรือการตัดก้อนทองคำ เพื่อดูความเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งหากเป็นทองแท้ เมื่อตัดเนื้อทองออกมา จะเห็นได้ว่าผิวที่ตัดนั้น มีความเป็นเนื้อเดียวกัน มันวาวเป็นประกายทองคำ แต่หากตัดผ่าก้อนทองคำแล้วเห็นว่ามีการแยกตัวของชั้นโลหะ มั่นใจได้เลยว่ามีการผสมโลหะอื่น ๆ เข้าไป”นายสุเมธกล่าว

ทั้งนี้ การปลอมทองคำ เริ่มมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ เพราะปัจจุบันทองคำมีมูลค่าสูงกว่าบาทละ 34,000 บาท ทำให้มิจฉาชีพเข้ามาหาประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยมีการปลอมทองคำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทองเกรด A , ทองไมครอน , ทองโคลนนิ่ง , ทองยัดไส้ และเครื่องประดับทองปลอม และล่าสุดการนำผงทังสเตน มาใส่ไว้ด้านใน และด้านนอกเป็นทองคำแท้ ยิ่งทำให้ตรวจสอบยากขึ้น และมีร้านทองคำ มีโรงรับจำนำ ที่ถูกหลอกขายทองคำปลอมเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

นายสุเมธ กล่าวว่า ในการซื้อขายทองคำหรือต้องการซื้อทองคำเพื่อลงทุน GIT มีข้อแนะนำให้เลือกซื้อจากร้านค้าที่ได้ใบรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่ซื้อไปมีคุณภาพ มาตรฐาน หรือเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ในโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ ผ่านใบรับรอง GIT หรือที่รู้จักในชื่อโครงการ Buy With Confidence (BWC) เพราะร้านเหล่านี้ มั่นใจได้ว่าขายสินค้าดี มีคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

ส่วนการตรวจสอบทองคำ ปัจจุบันตรวจสอบเพียงตาเปล่าเพียงอย่างเดียวไม่ได้ โดย GIT ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ มีเครื่องมือขั้นสูงที่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน เช่น กรณีนี้สามารถตรวจสอบว่าเป็นทองคำแท้หรือทองคำปลอมก่อนที่จะรับซื้อโดยไม่ต้องทำลายชิ้นงานด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ (XRF) ที่เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ชนิดของธาตุและปริมาณธาตุในสารตัวอย่าง โดยวิธีการตรวจสอบนี้ ได้การรับรองกับสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งชาติ (สมอ.) ในขอบข่ายการวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์ทองคำ (Au) ที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...