ความสุขกำหนดได้ด้วยตัวเอง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรากลับพบคำตอบว่า คนในยุคนี้กลับไม่มีความสุขเท่าที่ควรจะเป็น หากถามคนรอบข้างก็จะพบว่า มีปัจจัยเชิงลบมากมายที่บั่นทอนความสุขในชีวิตของเขา ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจไม่ดี สภาพแวดล้อมย่ำแย่ เพื่อนร่วมงานมีปัญหา ฯลฯ

น่าสังเกตว่า ปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความสุขนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็น ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้ ในขณะที่ตัวเราเองก็มักจะรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้เลย ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ ๆ อย่างสภาพแวดล้อมนั้นยิ่งไม่มีพลังอำนาจใด ๆ ไปจัดการให้ดีขึ้นได้

ยิ่งคิดก็ยิ่งไม่มีความสุข เพราะรู้สึกว่าความสุขล้วนเป็นสิ่งที่คนอื่นต้องทำให้เรา กลายเป็นว่าความสุขของตัวเราเองต้องขึ้นอยู่กับผู้อื่น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ความสุขควรสร้างจากภายในตัวเราเอง ซึ่งมีแนวทางง่าย ๆ อยู่ 5 ข้อดังนี้

ข้อแรกต้องทำให้ชีวิตมีทางเลือกที่อิสระเสรีเสมอ เพราะในชีวิตความเป็นจริงนั้นขึ้นอยู่กับทางเลือกมากมายในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกเพื่อหน้าที่การงาน เรื่องสังคม เรื่องครอบครัว เราต้องตัดสินใจเลือกหนทางที่คิดว่าดีที่สุด และต้องมีทางออกให้กับทุกสถานการณ์เสมอ 

เพราะในความเป็นจริงเรามักจะเลือกหนทางที่ทำให้ไม่มีทางออก หรือทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีทางเลือกน้อย เช่นเพิ่งทำงานมีรายได้ไม่มากนัก แต่กลับเลือกที่จะซื้อรถยนต์หรูหราราคาแพง ทำให้แต่ละเดือนมีเงินไม่พอใช้เพราะต้องผ่อนรถหมด

ท้ายที่สุดก็รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้เลย จะพาลูกเที่ยวหรือทำกิจกรรมพิเศษก็ไม่ได้ ไม่สามารถกินอาหารร้านดี ๆ ในโอกาสพิเศษได้ ฯลฯ จนรู้สึกว่าชีวิตตัวเองไม่มีทางเลือกทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วหากเลือกใช้รถที่ราคาถูกลง ก็อาจมีเงินเหลือพอทำทุกอย่างที่ต้องการได้ทั้งหมด

ปัญหาคือเรามักเลือกผลประโยชน์ระยะสั้น เช่นความต้องการเป็นเจ้าของรถยนต์ราคาแพงที่อาจทำให้เรามีความสุขในช่วงแรกที่ได้ครอบครอง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มรู้สึกว่าชีวิตมีทางเลือกน้อยลงเพราะรายได้ไม่พอใช้ ทำให้อิสระในทางเลือกของเราหายไปทันที

การรักษาให้เรามีทางเลือกที่อิสระเสรีได้เสมอจึงอยู่ที่การตัดสินใจแต่ละครั้งว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรในอนาคต นั่นคือต้องดูทุกครั้งว่าตัดสินใจอะไรไปแล้วอาจแก้ปัญหาระยะสั้นให้กับเราได้บ้างแต่มันอาจทำเราไม่มีทางเลือกอื่นในอนาคตก็ไม่ควรเลือกทางนั้น

ข้อสอง ต้องฝึกตัวเองไม่ให้ขึ้นกับผู้อื่นมากเกินไป เพราะวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันยากที่จะอยู่โดยลำพังไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตส่วนตัวหรือการทำงานที่เราจำเป็นต้องร่วมมือกับผู้อื่นอยู่เสมอ ยิ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เราก็ยิ่งเป็นเฟืองเล็ก ๆ ที่ต้องอาศัยฟันเฟืองอื่น ๆ เพื่อทำงานร่วมกัน

การใช้ชีวิตจึงจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับคนอื่น แต่ทำอย่างไรที่เราจะลดการพึ่งพาคนอื่นลงให้มากที่สุด คำตอบอยู่ที่การพึ่งพานั่นเป็นการที่เราต้องพึ่งพาเขาแต่เพียงอย่างเดียวหรือไม่ เพราะการที่เราพึ่งพาเขาอย่างเดียว นั่นก็หมายความว่าทางเลือกของเราถูกจำกัดอยู่กับเขาเท่านั้น หากเขาอารมณ์ไม่ดี หรือป่วย ก็เท่ากับเราต้องมีปัญหาไปด้วย ซึ่งไม่ใช่ทางเลือกที่ดีแน่นนอน แต่หากการพึ่งพานั้นเป็นการพึ่งพาแบบสองทาง คือเราต้องพึ่งเขา และเขาก็ต้องพึ่งเราเหมือนกัน

ในกรณีแบบนี้เท่ากับทั้งคู่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เพราะอะไรที่เราทำไม่ได้ก็ต้องให้เขาจัดการให้ แต่ในเวลาเดียวกันก็จะมีอะไรที่เขาทำไม่ได้ก็ต้องพึ่งเราเหมือนกัน แบบนี้ย่อมเป็นการแลกเปลี่ยนที่ทำให้งานของแต่ละฝ่ายล้วนต้องร่วมมือเพื่อความสำเร็จร่วมกัน

แต่การจะทำเช่นนั้นได้ ตัวเราก็ต้องมีคุณค่ามากพอที่จะทำให้เขาต้องพึ่งพาเราได้ ไม่ใช่ต้องพึ่งพาเขาแต่เพียงอย่างเดียวซึ่งจะเป็นการจำกัดทางเลือกในอนาคต การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีด้วยการสร้างมูลค่าให้กับตัวเองจึงเป็นทางออกในการลดการพึ่งพาคนอื่นได้ดีที่สุด

ติดตามข้ออื่นๆที่เหลือ ในสัปดาห์หน้าครับ .....

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...