‘คลาวด์ คอมพิวติ้ง’ รหัสอนาคต สู่ความยั่งยืนโลก

จากการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอปีนี้ของ "การ์ทเนอร์" ชี้ให้เห็นว่า "ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม" ยังคงเป็นหนึ่งใน 10 ความสำคัญแรกของธุรกิจ

ขณะที่ การประมวลผลคลาวด์ (Cloud Computing) นั้น มีส่วนสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนขององค์กร ขับเคลื่อนประสิทธิภาพดาต้าเซ็นเตอร์ และโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ สามารถใช้เป็นแนวทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ออทัมน์ สแตนนิช” นักวิเคราะห์อาวุโสหลัก การ์ทเนอร์ ระบุว่า การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในปี 2569 องค์กรที่ดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนถึง 70% จะใช้ประสิทธิภาพจากบริการคลาวด์สาธารณะ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมไว้เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดในการเลือกผู้ให้บริการคลาวด์

เลือกพันธมิตรคลาวด์ปูทางยั่งยืน

การ์ทเนอร์ บอกว่า อาจเป็นเรื่องยากของผู้บริหารด้านโครงสร้างพื้นฐาน และปฏิบัติงาน (Infrastructure and Operations หรือ I&O) ในการเลือกพันธมิตรคลาวด์ ที่จะช่วยให้องค์กรของตนบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เนื่องจากผู้ให้บริการแต่ละรายไม่ได้มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด

โดยพบว่า ช่วงระยะเวลาที่องค์กรส่วนใหญ่ตั้งเป้าเพื่อบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (GHG) จะไม่เร็วไปกว่าปี 2573 แต่สัญญาระบบคลาวด์โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ซึ่งการสับเปลี่ยนผู้ให้บริการคลาวด์นั้นใช้เวลานาน มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้

ส่วนขั้นตอนการประเมินผู้ให้บริการคลาวด์ องค์กรต้องพิจารณาประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนไว้เป็นสาระสำคัญ และวิเคราะห์อย่างรอบคอบเกี่ยวกับความพยายามและแผนงานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ให้บริการในปัจจุบันอย่างละเอียด

ปัจจัยที่ควรพิจารณา

ก่อนเลือกผู้ให้บริการคลาวด์ ผู้บริหาร I&O จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และไทม์ไลน์ด้านความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งจะช่วยคัดสรรผู้ให้บริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและเข้าใจถึงโอกาสในการช่วยให้บรรลุเป้าหมาย

คำถามสำคัญที่สุดคือ ผู้ให้บริการคลาวด์จะลดการปล่อยก๊าซที่เกี่ยวข้องกับบริการที่ใช้ระหว่างระยะเวลาในสัญญาได้อย่างไรและในปริมาณมากน้อยแค่ไหน

ดังนั้นความโปร่งใสจึงเป็นข้อบ่งชี้สำคัญของความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายความยั่งยืน และหากผู้ให้บริการไม่เต็มใจให้ข้อมูลนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนที่องค์กรต้องระวัง

ข้อควรพิจารณาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องจับตาดูการนำเสนอดาต้าเซ็นเตอร์เฉพาะกิจที่สร้างขึ้นเพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการปฏิบัติปกติ ดังนั้นควรสอบถามผู้ให้บริการเกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เจาะจงที่มีการใช้บริการคลาวด์นั้น

พิจารณาการรับรองมาตราฐานต่างๆ ที่ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ได้รับและแนวทางในการรับใบรับรองต่าง ๆ เพิ่มเติมในอนาคต รวมถึงการรับรองประสิทธิภาพพลังงานจากบุคคลที่สามที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้ให้บริการคลาวด์และความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายความยั่งยืน

ขณะที่ ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยได้แก่ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Power Usage Effectiveness หรือ PUE) ของระบบปรับอากาศและโครงสร้างพื้นฐานการจ่ายพลังงาน ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Power Usage Effectiveness หรือ WUE) สำหรับทำความเย็นในดาต้าเซ็นเตอร์ และแนวทางปฏิบัติการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการเกิดของเสีย โดยคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ใช้ไปกับการใช้บริการคลาวด์ขององค์กรที่ได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน

บริการคลาวด์สาธารณะในภูมิภาคที่ใช้พลังงานหมุนเวียน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 70% - 90% เมื่อเทียบกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล (Hyperscalers) เป็นผู้บริโภคพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นองค์กรธุรกิจต้องพิจารณาถึงเป้าหมายทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาวในด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนของผู้ให้บริการเหล่านั้น

โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีการใช้บริการคลาวด์ เช่นเดียวกับต้องทำความเข้าใจแนวทางที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์รายงานและจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...