มองเศรษฐกิจผ่านมุมมอง ‘ประธานTDRI’ ทำอย่างไร ให้ไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลาง
วันที่ส่ง: 29/10/2023 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
อย่างไรก็ตามการจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ประเทศไทยจำเป็นต้องมี “โมเดลใหม่” ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้เติบโตต่อเนื่องได้ในระยะยาว
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าในวันนี้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยต้องยอมรับว่าเราไม่ใช่เศรษฐกิจที่จะเติบโตร้อนแรงเหมือนกับเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าดูตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจย้อนหลังเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และมองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยก็ไม่น่าจะเติบโตได้เร็วมาก คือเศรษฐกิจอาจจะโตได้ 3% หรือมากกว่า 3% เล็กน้อย
การเติบโตในระดับนี้หากเป็นประเทศที่มีรายได้สูง หรือเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็เป็นตัวเลขที่ยอดเยี่ยมแล้ว แต่ของไทยเราเป็นประเทศรายได้ปานกลางที่ควรจะเติบโตได้มากกว่านี้ หากมองไปรอบๆบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเราก็จะเจอกับประเทศที่เติบโตได้เกิน 6% อย่างเช่นเวียดนาม และกัมพูชา รองลงมาก็คือการเติบโตของอินโดนิเซีย และมาเลเซีย โดยกรณีของอินโดนิเซียนั้นรายได้ต่อหัวประชากรนั้นต่ำกว่าประเทศไทย แต่มาเลเซียนั้นรายได้ต่อหัวประชากรต่ำกว่าเรา โดยสรุปแล้วศักยภาพในการเติบโตของไทยเราเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียนไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็น
“หากประเทศไทยไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ก็ยากที่ประเทศไทยจะมีเศรษฐกิจที่เติบโตได้มากๆ เราก็จะเติบโตได้ 3%หรือมากกว่า 3% เล็กน้อยต่อไปเรื่อยๆ ตัวเลขนี้หมายความว่าหากคนที่ทำธุรกิจแล้วต้องการเห็นธุรกิจของไทยเติบโตได้ปีละ 10% การทำธุรกิจอยู่ในไทยอย่างเดียวก็จะยากแล้วเพราะถูกจำกัดการเติบโตตามเศรษฐกิจของประเทศ”
เปรียบเศรษฐกิจไทยเหมือนรถติดหล่ม
หากให้เปรียบเทียบเศรษฐกิจไทยกับอะไรสักอย่าง อาจจะเปรียบเทียบกับ “รถที่กำลังติดหล่ม” หล่มแรกคือ “หล่มทางการเมือง” การที่ติดหล่มนี้ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องยาวนานนั้นทำไม่ได้ และวัฏจักรความขัดแย้งทางการเมืองทำให้ความขัดแย้งยาวนาน ตัวนี้แม้ว่าไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยพังไปเลย แต่ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องยาวนานนั้นทำไม่ได้เพราะอะไรที่ต้องการการวางแผนระยะยาวแล้วทำต่อเนื่องก้าวผ่านระบบรัฐที่อ่อนแอนั้นทำยาก
อีกหล่มที่ประเทศไทยติดอยู่และมีความสำคัญคือในเรื่องของ “โครงสร้างประชากร” นี่คือสาเหตุที่ทำให้ศักยภาพของเศรษฐกิจไทยไม่ได้สูง เพราะสังคมไทยไม่ใช่สังคมที่เป็นแรงงานเหลือพอที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งค่ายตะวันตกและจีนมีความขัดแย้งกันมากขึ้นทุกวันทำให้เกิดโอกาสมากมายจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนลงมาในอาเซียน ซึ่งมาลงทุนในไทยด้วยแต่ไม่ใช่ลงทุนในไทยมากที่สุดแต่ไปลงทุนในเวียดนาม อีกประเทศที่ไปลงทุนมากก็คืออินโดนิเซีย จึงไม่เหมือนกับในอดีตที่ไทยได้ประโยชน์จากนโยบายนี้
โดยไทยเคยอยู่แถวหน้าของอาเซียนในช่วง 30 ปีก่อน และ 30 ปีที่แล้วโครงสร้างเศรษฐกิจ ประชากรของเราเอื้อให้เราเป็นแถวหน้า เมื่อเราวางจุดยืนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ดีเราก็รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย เราสามารถตักตวงประโยชน์ได้
วันนี้ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์คล้ายๆเดิมแต่ความพร้อมของประเทศไทยไม่ดีเท่าเดิมทำให้ประเทศอื่นที่มีควาพร้อมกว่าเช่นประเทศเวียดนามได้ประโยชน์ในส่วนนี้และสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด และหากคำนวณอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเปรียบเทียบกับไทยอีก 20 ปี เวียดนามจะมีขนาดเศรษฐกิจเท่ากับประเทศไทยหรือว่าแซงไทยได้หากไทยยังเป็นเหมือนเดิมไปเรื่อยๆโดยไม่ขยับอะไร
“การจะก้าวผ่านหล่มได้ โดยธรรมชาติเครื่องยนต์ต้องมีพลังมาก มีแรงม้าเยอะถึงจะสามารถขับเคลื่อนและดันตัวรถให้ขึ้นพ้นจากหล่ม ซึ่งหล่มไม่เหมือนกับหลุมดำเพราะหลุมดำนั้นไม่มีอะไรขึ้นมาจากหลุมดำได้แม้กระทั่งแสงเพราะเกิดแรงดึงดูดมหาศาล ประเทศไทยไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอกขนาดที่หลุดเข้าไปในหลุมดำ แต่เราต้องการเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเป็นเหมือนโฟร์วีลไดรฟ์ที่ขับเคลื่อนได้เต็มที่เพื่อที่จะทำให้ประเทศ และเศรษฐกิจของเราขึ้นจากหล่มได้”
แนะสร้างแรงเคลื่อนเศรษฐกิจจากเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง
นายสมเกียรติกล่าวต่อว่าการจะทำให้ประเทศไทยขึ้นจากหล่มได้ ต้องอาศัย “ล้อ” ที่มีที่แข็งแรงคือโดยตอนนี้ล้อที่แข็งแรงของไทยคือ บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ไหนแต่ไรมาภาคธุรกิจของเรามีความสามารถมีความพร้อม การเมืองจะอยู่อย่างไรเขาอยู่ได้ เศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรเขาก็อยู่ได้ และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจขนาดใหญ่จึงเป็นล้อที่ขับเคลื่อนได้ดีของประเทศ
ส่วนล้อที่ยังขับเคลื่อนได้ไม่ดีคือแรงจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งส่วนนี้ไม่สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะทดแทนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้หากเศรษฐกิจประเทศเกิดปัญหา ซึ่งบางประเทศมีภาคเอสเอ็มอีที่เก่งมากขับเคลื่อนประเทศไปได้ อย่างประเทศไต้หวันเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
แนะเร่งแก้ปัญหาการเมือง - ระบบราชการ
นอกจากนั้นยังมีล้ออีก 2 ล้อที่ไม่ได้ขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าได้เท่าที่ควรได้แก่ “ภาคการเมือง” โดยภาคการเมืองน่าจะเป็นส่วนที่ขับเคลื่อนประเทศได้ แต่ในทางที่เป็นรูปธรรม แต่ตอนนี้ภาคการเมืองยังไม่ได้มีบทบาทที่ชัดเจนในเรื่องนี้
อีกส่วนที่เป็นระบบรัฐคือ “ระบบราชการ” ที่เป็นประเด็นมานาน ซึ่งจริงๆแล้วหากการเมืองดีก็จะมาช่วยขับเคลื่อนในส่วนนี้ไปได้ด้วย แต่เมื่อการเมืองเข้มแข็งมีศักยภาพก็สามารถที่จะผลักดันล้อที่เป็นระบบราชการได้แต่ที่ผ่านมายังไม่เห็นการขับเคลื่อนในส่วนนี้ชัดเจน
แนะสร้างการลงทุนต่อเนื่อง
นโยบายเศรษฐกิจที่จะทำให้ล้อของประเทศแข็งแรงคือจำเป็นที่ต้องเพิ่ม “การลงทุน” โดยลงทุนที่ดีไม่ใช่มาจากการการกระตุ้นการบริโภค เพราะการกระตุ้นการบริโภคเป็นการตอบโจทย์ทางการเมืองในการระดมคะแนนเสียง ซึ่งตอบโจทย์ทางการเมืองได้แค่ไหนก็ต้องย้อนกลับไปดูผลการเลือกตั้ง เพราะพรรคเพื่อไทยได้หาเสียงเรื่องการแจกเงินดิจิทัลมาตั้งแต่แรก แต่คะแนนเสียงก็ออกมาแบบก้ำกึ่งไม่ได้ชนะขาดเท่ากับว่าผลตอบรับไม่ได้ดีมาก
โดยต้องทำต่อเนื่อง 5 – 10 ปี ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว เช่นเดียวกับการลงทุนในระบบราชการที่จะต้องทำให้ระบบราชการเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศให้ได้ เพราะระบบราชการคือกลไกสำคัญที่จะนำเอานโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติหากไม่สามารถปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบราชการไทยให้มีความเข้มแข็งได้นโยบายต่างๆก็จะไม่เกิดผลดีต่อประเทศ
“ประเทศไทยวันนี้จึงเหมือนเป็นรถที่มีล้อเดียวที่ขับเคลื่อนไปคือธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดใหญ่เห็นว่าอีก 3 ล้อ คือเอสเอ็มอี การเมือง และราชการไม่ได้หมุนไปอย่างดี การขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศไทยก็คงยาก ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะไปลงทุนต่างประเทศ ดังนั้นหากอยากจะออกจากหล่มได้ประเทศไทยต้องเป็นรถที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วย 4 ล้อจึงจะสามารถที่จะหลุดออกจากหล่มได้ และอาจเป็นความหวังให้เราหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางได้” นายสมเกียรติ กล่าว
นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องใช้จุดแข็งของประเทศเราเองให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ โดยเฉพาะในส่วนของประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งในการรับระบบการผลิตและเรียนรู้การทำธุรกิจจากต่างประเทศนั้นเรามีประสบการณ์สามารถผลิตสินค้าที่ต้นทุนไม่สูงมาก มีคุณภาพที่ดี และส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา เป็นการผลิตแบบ รีน จากญี่ปุ่นมา ซึ่งตรงนี้เราต้องต่อยอดให้กรีนซึ่งมีจุดขายที่ดีของไทย โดยเรามีการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าน้อย เพียงแค่ 19% ที่เหลือเป็นการผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งมีการใช้มาก และมีพลังงานหมุนเวียนที่มากขึ้น ซึ่งต้องผลักดันไปสู่พลังงานสีเขียวให้มากขึ้นเพื่อดึงอุตสาหกรรมที่ต้องการพลังงานสะอาดเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย
นอกจากนั้นประเทศไทยต้องต่อยอดการผลิตสินค้าที่ใช้นวัตกรรมที่สูงขึ้น โดยขณะนี้มีบริษัทขนาดใหญ่ที่เริ่มคิดค้นนวัตกรรมเอง และไปซื้อกิจการที่มีนวัตกรรมสูงมาทำให้เกิดนวัตกรรมได้ ซึ่งจะเป็นทางออกให้อุตสาหกรรมและธุรกิจของเราอยู่ได้แม้ว่าโครงสร้างประชากรจะไม่เอื้ออำนวย ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
ระเบิดสถานีรถไฟปากีสถาน ดับ 20 บาดเจ็บ 53 ราย
เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 8.20 น.ตามเวลาท้องถิ่นที่ชานชาลาหมายเลข 1 ของสถานีรถไฟในเมืองหลวงข...
‘ทูตจีน’ ลั่น ไม่มีผู้ชนะสงครามการค้า ผวา ‘ทรัมป์’ เพิ่มไฟขัดแย้งสหรัฐ-จีน
เซี้ย เฟิง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐ กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างจีนและสหรัฐ ควรเป็นแรงผลักดันให้เกิ...
สรุปจบตาแจ้ง! ทุกคดีทรัมป์ เอาไงต่อ?
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก สรุปทุกคดีของทรัมป์ ไว้ดังนี้ คดีใช้เงินปิดปากฟ้องโดยรัฐนิวยอร์ก ในเดือน พ.ค. ทร...
"อัยด้า" โพสต์ทันที หลัง "รถถัง" อัด "สมิธ" ลบรอยด่างตกตาชั่ง
ภรรยาของรถถัง โพสต์ถึงสามีสุดที่รัก หลังลบฝันร้ายตกตาชั่ง เอาชนะ "จาค็อบ สมิธ" ทำให้เข็มขัดแชมป์โลก ...
ยอดวิว