เช็คอิน 'ที่พักริมทางมอเตอร์เวย์' คอมมูนิตี้มิกซ์ยูส 21 แห่ง

กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเวทีรับฟังความเห็นภาคเอกชนเพื่อเตรียมจัดทำเอกสารประกวดราคา (RFP) "โครงการที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)" รวม 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 3,350 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.มอเตอร์เวย์หมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา มีที่พักริมทางรวมทั้งหมด 15 แห่ง วงเงินลงทุนก่อสร้างโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท

2.โครงการที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี มีที่พักริมทางทั้งหมด 6 แห่ง วงเงินลงทุนก่อสร้างโครงการประมาณ 1,350 ล้านบาท

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงไทม์ไลน์ของการพัฒนาโครงการที่พักริมทาง โดยระบุว่า ปัจจุบัน ทล.อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน จัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) และร่างสัญญาร่วมลงทุน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนในช่วงต้นปี 2567 ดำเนินการคัดเลือกเอกชน และลงนามสัญญาให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 เปิดให้บริการบางส่วนในปี 2568 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2569

สำหรับการพัฒนาที่พักริมทางบนมอเตอร์เวย์สายใหม่ทั้ง 2 โครงการนี้ นับเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ เพื่อให้การเดินทางและขนส่งมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย เป็นการยกระดับการให้บริการ พร้อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยรายละเอียดของโครงการ จะแบ่งออกเป็น

โครงการที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา ที่พักริมทางรวมทั้งหมด 15 แห่ง แบ่งการบริหารโครงการเป็น 2 สัญญา

สัญญาที่ 1 ประกอบด้วย ที่พักริมทางจำนวน 8 แห่ง แบ่งเป็น

  • ศูนย์บริการทางหลวง จำนวน 1 แห่ง
  • สถานที่บริการทางหลวง จำนวน 2 แห่ง
  • จุดพักรถ จำนวน 5 แห่ง

สัญญาที่ 2 ประกอบด้วยที่พักริมทางจำนวน 7 แห่ง แบ่งเป็น

  • ศูนย์บริการทางหลวง จำนวน 1 แห่ง
  • สถานที่บริการทางหลวง จำนวน 2 แห่ง
  • จุดพักรถ จำนวน 4 แห่ง

โครงการที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ที่พักริมทางทั้งหมด 6 แห่ง ประกอบด้วย

  • สถานที่บริการทางหลวง จำนวน 4 แห่ง
  • จุดพักรถ จำนวน 2 แห่ง

สำหรับที่พักริมทาง จะพัฒนาลักษณะคอมมูนิตี้มิกซ์ยูส มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ครบครัน เช่น ที่จอดรถ พื้นที่พักผ่อน ห้องน้ำ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้า สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และการบริการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ทาง ซึ่งเป็นการยกระดับการให้บริการแก่ประชาชน ควบคู่กับอำนวยความสะดวกและปลอดภัย ตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้ทางประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเข้า-ออกทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

ทั้งนี้ กรมทางหลวงจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในการดำเนินโครงการดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พรบ. การร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยมีระยะเวลาโครงการ 32 ปี แบ่งเป็นช่วงการออกแบบและก่อสร้าง 2 ปี และบริหารจัดการ ดูแลและบำรุงรักษาโครงการอีก 30 ปี

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...