สอน.แจงเหตุผล ขึ้นราคาน้ำตาล ลดส่วนต่างราคาในประเทศ-ส่งออก

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า สอน.ได้ออกประกาศ เรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.2566 ดังนี้

1.น้ำตาลทรายขาว จากกิโลกรัมละ 19 บาท เป็นกิโลกรัมละ 23 บาท

2.น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ จากกิโลกรัมละ 20 บาท เป็นกิโลกรัมละ 24 บาท

แหล่งข่าว กล่าวว่า การประกาศ ขึ้นราคาน้ำตาล สอน.จะนำมาใช้คำนวณราคาอ้อยสำหรับฤดูกาลผลิต ปี 2566/67 ซึ่งกำลังจะหีบอ้อยในช่วงสิ้นเดือน ธ.ค.2556 จากเดิมที่คำนวณราคาที่ 19-20 บาท และหากไม่มีการประกาศขึ้นราคาเลยจะทำให้ชาวไร่เสียโอกาสที่จะได้รับส่วนแบ่งจากส่วนต่างของราคาน้ำตาลตลาดโลกและในประเทศ

ขณะเดียวกันผู้ซื้อน้ำตาลเพื่อผลิตสินค้าในประเทศอาจไม่สามารถซื้อน้ำตาลได้หากไม่มีการปรับขึ้นราคา เนื่องจากผู้ขายต้องการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศที่ได้ราคาดีกว่า

 

“ชาวไร่-โรงงาน” ต้องการส่งออกน้ำตาลมากกว่า

ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงกว่าราคาน้ำตาลในไทย ซึ่งตามปกติของกลไกตลาดเสรี ผู้ขายจะเลือกส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศเพื่อให้ได้ราคาดีขึ้น รวมถึงชาวไร่เองก็อยากให้นำน้ำตาลไปขายตลาดต่างประเทศ เพราะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล หากขายได้ราคาดีผลประโยชน์ก็จะกลับมาแบ่งกันทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงแบ่งส่วนหนึ่งเข้ากองทุนสำหรับสนับสนุนการตัดอ้อยสดเพื่อลดการสร้างมลพิษ

ทั้งนี้ ในปีนี้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าปกติ อีกทั้งไทยได้ยกเลิกการกำหนดโควต้าน้ำตาลสำหรับขายภายในประเทศ ผู้ขายจึงมีสิทธิที่จะส่งออกได้อย่างเสรี และราคาน้ำตาลก็ไม่ใช่สินค้าควบคุม

 

ราคาน้ำตาลในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นจูงใจส่งออก

นายบุญถิ่น โคตรศิริ กรรมการบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงงานน้ำตาลปรับสูงขึ้นมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ ราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือน ธ.ค.2566 อยู่ที่ 734.20 ดอลลาร์ ต่อ ตัน ซึ่งทำให้คำนวณราคาน้ำตาลส่งออกของไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 26-27 บาท จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้โรงงานน้ำตาลเลือกที่จะส่งออกน้ำตาลแทนการขายในประเทศ

 

สอน.ยืนยันน้ำตาลในประเทศไม่ขาดแคลน

แหล่งข่าว จาก สอน.กล่าวว่า ในประเด็นความมั่นคงอาหาร ซึ่งเมื่อราคาน้ำตาลปรับเพิ่มขึ้นแล้วก็น่าจะไม่ทำให้เกิดน้ำตาลขาดแคลน ถึงแม้ว่าปัจจุบันไม่มีการแบ่งโควต้าสำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออกเหมือนในอดีต 

อย่างไรก็ตาม สอน.มีการกำหนดให้โรงงานน้ำตาลสำรองน้ำตาลไว้ประมาณ 1 เดือนเผื่อฉุกเฉิน หรือ 2 ล้านกระสอบ กระสอบละ 100 กิโลกรัม ในช่วงรอยต่อของฤดูกาลหีบอ้อย ช่วงเดือน ธ.ค.2566 ที่เพิ่งเริ่มมีน้ำตาลฤดูกาลใหม่ออกมา 

ทั้งนี้ ไทยมีการผลิตน้ำตาลราว 10 ล้านตันต่อปี โดยมีสัดส่วนการส่งออก 70-75% โดยส่วนที่เหลือเป็นการบริโภคในประเทศ 2.5-2.6 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิต 40-50% ขณะที่เหลือเป็นน้ำตาลที่ขายในห้างสรรพสินค้า

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...