กรมส่งเสริมการเกษตรดึง TTDI ผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านโรคใบด่าง

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า  กรมส่งเสริมการเกษตรได้เจรจาขอความร่วมมือจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย (TTDI) ในการสนับสนุนพันธุ์มันสำปะหลังที่ผ่านกระบวนการวิจัยของ TTDI ว่าเป็นมันสำปะหลังพันธุ์ต้านทานต่อโรคใบด่าง เพื่อนำมาปลูกขยายพันธุ์ในศูนย์ขยายพันธุ์พืชซึ่งอยู่ในภูมิภาคหรือพื้นที่จังหวัดที่มีเกษตรกรเพาะปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 7 ศูนย์ ประกอบด้วย ชลบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ พิษณุโลก มหาสารคาม สุพรรณบุรี และอุดรธานี

ทั้งนี้ TTDI ยินดีให้ความร่วมมือและคาดว่าจะสามารถส่งมอบต้นพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ต้านทานซึ่งใช้เทคโนโลยีการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด (X20) ให้แก่กรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 250,000 ต้น ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้วางแผนและเตรียมพร้อมในการผลิตขยายและกระจายมันสำปะหลังพันธุ์ต้านทานนี้อย่างเป็นระบบ

โดยจัดทำแปลงพันธุ์มันสำปะหลังตามมาตรฐานแปลงพันธุ์ในพื้นที่ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 7 แห่งข้างต้นก่อนส่งมอบท่อนพันธุ์ให้กับกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่มันสำปะหลังและเกษตรกรภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังที่มีศักยภาพและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์สะอาดนำไปเพาะปลูกขยายผลในรูปแบบของธนาคารแปลงพันธุ์มันสำปะหลังสะอาด

ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาเกษตรกรภายใต้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการตรวจคัดกรองแปลงพันธุ์ของเกษตรกรที่ร่วมโครงการดังกล่าว และตรวจรับรองแปลงพันธุ์โดยคณะกรรมการ อีก 1 ครั้งในช่วง 1 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว หากผ่านเกณฑ์มาตรฐานจึงจะรับรองให้เป็นแปลงพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและขยายพันธุ์สู่เกษตรกร เพื่อเพิ่มทางเลือกและควบคุมไม่ให้เกษตรกรใช้พันธุ์อ่อนแอหรือเสี่ยงต่อการติดโรคใบด่างมันสำปะหลังต่อเนื่อง

นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อมันสำปะหลังทุกภาคส่วนเตรียมพร้อมวางนโยบายงดรับซื้อมันสำปะหลังพันธุ์อ่อนแอ ได้แก่ ระยอง 11 และรหัสพันธุ์ 89 ในเร็ว ๆ นี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทุกพื้นที่เตรียมพร้อมปรับเปลี่ยนไปใช้พันธุ์ทนทานในฤดูการเพาะปลูกรอบใหม่ของตนที่กำลังจะถึง เพื่อป้องกันปัญหาการตลาดและผลกระทบต่อรายได้ในอนาคต

 

นายรพีทัศน์  กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้รณรงค์ให้เกษตรกรเปลี่ยนพันธุ์มันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาโรคใบด่าง ที่ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง  โดยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์มันสำปะหลังสะอาด โดยเฉพาะพันธุ์ทนทานต่อโรค ได้แก่ ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 สำหรับการเพาะปลูกหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 

ทั้งนี้เพราะเกษตรกรบางรายนิยมนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังในรอบการปลูกที่ผ่านมาเพาะขยายในฤดูกาลปลูกใหม่เพื่อบริหารจัดการต้นทุน เป็นความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคใบด่างมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่องหากท่อนพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวในฤดูกาลก่อนของเกษตรกรติดโรคใบด่างมันสำปะหลัง

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังแนะนำให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันกำจัดโรคอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เช่น กำจัดต้นที่พบโรคโดยสับทั้งต้นนำใส่ถุงพลาสติกสีดำมัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปตากแดด เป็นต้น หรือแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ทราบ เพื่อช่วยควบคุมอย่างถูกวิธี ไม่ให้ลุกลามสร้างความเสียหายในวงกว้าง

 อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรปรับเปลี่ยนมาปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ทนทานข้างต้น และหยุดการขยายพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังพันธุ์อ่อนแอ ได้แก่ ระยอง 11 และรหัสพันธุ์ 89 ซึ่งมีความเสี่ยง ในการติดโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ง่าย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...