'ริงกิต' มาเลเซียอ่อนค่าต่ำสุดรอบ 25 ปี เท่ากับช่วงวิกฤติ 'ต้มยำกุ้ง'

บลูมเบิร์กรายงานว่า ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลงในวันนี้อีก 0.5% อยู่ที่ 4.7703 ริงกิตต่อดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับที่อ่อนค่าหนักที่สุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์ค่าเงินเอเชียในปี 2541 และกลายเป็นค่าเงินที่มีผลประกอบการแย่ที่สุดในเอเชียเป็นรองแค่ค่าเงินเยน ของญี่ปุ่นเท่านั้น

ปัจจัยลบของค่าเงินมาเลเซียครั้งนี้ นอกจากจะเป็นผลกระทบของสงครามในอิสราเอลที่ทำให้นักลงทุนโยกเงินเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกันมากขึ้น และนโยบายสายเหยี่ยวของธนาคารกลางสหรัฐเรื่องแนวโน้มดอกเบี้ยสูงขึ้น และนานขึ้นแล้ว (Higher for longer) ก็ยังมาจากปัญหาพื้นฐานในมาเลเซียเอง ทั้งการส่งออกที่ย่ำแย่ และการที่แบงก์ชาติมาเลเซียส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย

ตัวเลขการส่งออกของมาเลเซียปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกันจนถึงเดือนก.ย. โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจีน ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย ที่ประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง

ขณะที่ธนาคารกลางของมาเลเซียก็ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรอบใหม่มาตั้งแต่เดือนก.ค. เป็นต้นมา ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 3% ซึ่งยิ่งเป็นผลลบต่อค่าเงินริงกิต เนื่องจากทำให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยของมาเลเซียกับดอกเบี้ยสหรัฐถ่างกันมากที่สุดทุบสถิติ จึงทำให้การลงทุนตลาดมาเลเซียมีความน่าดึงดูดน้อยลง

นอกจากนี้ ดัชนีเงินเฟ้อของมาเลเซียในเดือนส.ค. ยังปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 2% ทำให้ส่วนต่างผลตอบแทนในมาเลเซียหลังปรับเงินเฟ้ออยู่ที่ 1% และอาจลดลงอีกหากรัฐบาลออกมาตรการอุดหนุนราคาพลังงานมาช่วยประชาชน ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อมากขึ้น 

ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ธนาคารกลางอินโดนีเซียเพิ่งประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบเหนือคาดหมาย โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase rate) ระยะเวลา 7 วัน อีก 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 6% ซึ่งถือเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019  

เพอร์รี วาจิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าวว่า ความไม่แน่นอนในตลาดการเงินทั่วโลกทำให้จำเป็นต้องออกมาตรการที่เข้มข้นขึ้นมารับมือกับผลกระทบ โดยความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และแนวโน้มดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และนานขึ้นในสหรัฐ อาจทำให้ภาวะเงินทุนไหลออกยังเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 4 

ดังนั้น แบงก์ชาติจึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อพยุงค่าเงินรูเปียห์ท่ามกลางความผันผวนที่สูงขึ้นในตลาดโลก และยังถือเป็นมาตรการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น  

ทางด้านค่าเงินรูเปียห์ดีดตัวขึ้นมาจนอ่อนค่าน้อยลงกว่าเดิม โดยอ่อนค่า 0.5% อยู่ที่ 15,815 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ขณะที่บอนด์ยีลด์อายุ 5 ปี ปรับตัวขึ้น 0.09% และดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียปรับตัวลง 1.2% 

 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...