รัฐบาลยกรายงาน ‘UBS’ ชี้การคลังไทยรับเงินดิจิทัลได้ ไม่ห่วงโดนหั่นเรตติ้ง

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยถึงรายงานล่าสุดของ Union Bank of Switzerland (UBS) ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์และเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับความกังวลที่ว่าประเทศไทยอาจจะถูกลดเครดิตเรตติ้ง หากมีการเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่าน Digital Wallet นั้น

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง รายงานของ Union Bank of Switzerland (UBS) ว่าด้วยภาพรวมทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก (APAC Economic Perspective) โดยมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า แม้ว่าค่าใช้จ่ายทางการคลังยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง แต่ความยั่งยืนของหนี้ระยะยาวยังคงมั่นคงอยู่

อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย ยังยั่งยืน จากรายงาน Article IV ฉบับล่าสุดของ IMF ระบุว่าอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP 70% นั้นสอดคล้องกับความยั่งยืนของหนี้ การปกป้องทางการเงินทางกฎหมายและสถาบันยังใช้งานได้ดี 

โฆษกรัฐบาลย้ำว่า รายงานฉบับนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า การวัดความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) จะถูกลดระดับลงหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นกับจากโครงการ Digital Wallet โดยสถาบันจัดอันดับหลายแห่งต่างมองว่า การถูกปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศจะมาจากความเสี่ยงในเรื่องแนวโน้มการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง รวมถึงขึ้นอยู่กับการเติบโตของเศรษฐกิจ มากกว่าจะมองเพียงแค่นโยบายทางการเงินแบบใดแบบหนึ่ง

“เศรษฐกิจของประเทศในหลายปีที่ผ่านมาที่มีการเติบโตแทบจะต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันและต่ำกว่าศักยภาพของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน ด้วยแผนการเพิ่มรายได้ครั้งใหญ่ให้กับประเทศเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาในอัตราเร่งที่สูงกว่าเดิมอย่างต่อเนื่องด้วยชุดนโยบายทั้งระยะสั้น (แน่นอนว่า Digital Wallet เป็นหนึ่งนโยบายในนั้นด้วย) รวมทั้งระยะกลาง และระยะยาว” นายชัย กล่าว

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ มูดีส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส  ระบุว่า ภาพรวมของไทยอยู่ในระดับ Baa1 stable (Baa1 มีเสถียรภาพ) แต่ให้ระวังปัจจัยลบในด้านต่างๆ ทั้งการเป็นสังคมผู้สูงวัย แรงงานขาดทักษะ และผลกระทบจากการเมืองที่หากมีความขัดแย้งมากขึ้น ก็อาจทำให้ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงได้

ทั้งนี้ เงื่อนไขที่มีผลต่ออันดับเครดิต รวมถึงความเสี่ยงทางการเมืองและความท้าทายระยะยาวเชิงโครงสร้าง ในเรื่องสังคมสูงวัยและแรงงานขาดทักษะในการทำงาน มีผลต่อศักยภาพในการเติบโตในอนาคต 

รายงาน Credit Opinion ของมูดีส์ฉบับนี้ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 7 ก.ย. เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ล่าสุด หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงในการคาดการณ์ พบว่า ปัจจุบัน รัฐบาลไทยมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ Baa1 และมีแนวโน้มอันดับเครดิตที่ มีเสถียรภาพ (stable outlook)

ภาพรวมอันดับเครดิตของประเทศไทย Baa1 stable (Baa1 มีเสถียรภาพ) นั้น สะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำให้ประเทศมีความสามารถในการรับมือกับแรงกระแทก หรือภาวะช็อก ที่รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

นอกจากนี้ กันชนทางการคลังขนาดใหญ่ของประเทศไทยก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังช่วยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดอย่างแข็งแกร่งอีกด้วย แม้ว่าจะทำให้หนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นก็ตาม
เศรษฐกิจขนาดใหญ่และความหลากหลายของประเทศไทยยังเป็นแรงหนุนความสามารถในการรองรับผลกระทบฉับพลัน  จากการเปิดรับภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...