ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือนส.ค. ลด 10.44%

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนส.ค.2566 มีมูลค่า 573.11 ล้านดอลลาร์ลดลง 10.44% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 801.93 ล้านดอลลาร์ลดลง 27.14% และรวม 8 เดือน ของปี 2566 (ม.ค.-ส.ค.) การส่งออก ไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 5,357.56 ล้านดอลลาร์เพิ่ม 5.47% และรวมทองคำ มูลค่า 8,970.33 ล้านดอลลาร์ลดลง 17.55%

สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยฮ่องกง เพิ่ม 146.04% อิตาลี เพิ่ม 43.73% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 21.14% สิงคโปร์ เพิ่ม 53.59% ส่วนสหรัฐฯ ลด 12.01% เยอรมนี ลด 19.72% สหราชอาณาจักร ลด 10.43% เบลเยียม ลด 7.33% สวิตเซอร์แลนด์ ลด 8.02% อินเดีย ลด 59.34%

ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยเครื่องประดับทอง เพิ่ม 27.36% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 8.94% พลอยก้อน เพิ่ม 27.78% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 85.44% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 130.56% เพชรก้อน เพิ่ม 1.88% ส่วนเพชรเจียระไน ลด 31.75% เครื่องประดับเงิน ลด 14.58% เครื่องประดับเทียม ลด 9.29% เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ลด 21.80% และทองคำ ลด 37.72%

นายสุเมธ กล่าวว่า ทิศทางการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากนี้ ต้องจับตาเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดสำคัญ อย่างสหรัฐฯ ยังคงชะลอตัว รวมถึงเศรษฐกิจยูโรโซน ที่ชะลอตัวเช่นเดียวกัน และมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่ก็หวังว่า การเข้าสู่ช่วงจับจ่ายใช้สอยในเทศกาลท้ายปี จะกระตุ้นให้การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และการซื้อสินค้าเพื่อเป็นรางวัลให้ตนเองและเป็นของขวัญคึกคักมากขึ้น จึงอาจมีส่วนทำให้มีแรงซื้อสินค้าเข้ามามากขึ้น รวมถึงเงินบาทอ่อนค่า ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย

ทั้งนี้ GIT มีข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยในช่วงที่ตลาดชะลอตัว ควรจะใช้แนวทาง USE โดย U : Unique ให้เน้นการพัฒนาสินค้าให้โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจเฉพาะตัว S : Soft Power ใช้ประโยชน์จากการสร้างเรื่องราวให้กับสินค้าและบริการ โดยอาจเชื่อมโยงกับภาคบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่รู้จักถึงความเป็นไทยในนานาประเทศ และ E : E-Commerce ศึกษาการใช้ช่องทางการนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม สร้างช่องการติดต่อสื่อสารออนไลน์กับผู้บริโภคให้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งมีช่องทางชำระเงินและจัดส่งสินค้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย เชื่อถือได้ รวมทั้งต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก แล้วนำมาพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการ ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างและนำเสนอคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ตรงใจลูกค้า


 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...