‘เจโทร’ เตือนนโยบายค่าแรง 400 บาท ดูผลกระทบบริษัทต่างชาติด้วย

การปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 600 บาท ภายในปี 2570 เป็นนโยบายพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ผลักดันโดยจะบริหารเศรษฐกิจให้ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5% เพื่อให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ในระยะแรกรัฐบาลมีเป้าหมายจะปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2566 โดยคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) จะพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดในเดือน ต.ค.2566 และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบในเดือน พ.ย.2566

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็นวันละ 400 บาท ทั่วประเทศหรือไม่ โดยล่าสุด นายพิพัฒน์ รัฐกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ให้กระทบเอสเอ็มอี และคณะกรรมการไตรภาคีจะเป็นผู้สรุปว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท หรือไม่

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำให้ทั้งบริษัทไทยและบริษัทต่างชาติจับตานโยบายดังกล่าว รวมถึงบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุน ซึ่งแม้ว่าจะมีการจ่ายค่าจ้างสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

นายจุนอิชิโร คุโรดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพ) กล่าวว่า แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำไทยว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณาถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ทั้งเอกชนในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเพื่อให้ไทยยังสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ในภูมิภาค

“เราคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่จะส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างแรงงานฝีมือขั้นสูงให้พร้อมรับการลงทุนในอุตสาหกรรมอนาคต”

นอกจากนี้ แรงกดดันทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลให้นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลดความเสี่ยงโดยการกระจายบทบาทการผลิตไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเปิดโรงงานเฟสใหม่ของมูราตะได้ตอกย้ำความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นของไทยและญี่ปุ่น และการเดินหน้าร่วมสร้างสรรค์ (co-creation) สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมสำหรับอนาคต

ขณะที่การลงทุนของมูราตะในภาคเหนือของประเทศไทยจะเป็นการบริหารความเสี่ยงซัพพลายเชน รวมทั้งเป็นการเร่งขยายกำลังการผลิตเพื่อตอบรับความต้องการของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัว ซึ่งเจโทร กรุงเทพฯ พร้อมที่จะสนับสนุนให้นักลงทุนญี่ปุ่นในไทยขยายการลงทุนเพื่อพัฒนาการผลิตให้พร้อมรับเทรนด์อุตสาหกรรมใหม่เหมือนกับที่มูราตะตัดสินใจขยายการผลิตที่มีเทคโนโลยีใหม่ในไทย

รวมทั้งเชิญนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีศักยภาพเข้ามาขยายการลงทุนในประเทศไทย ส่งเสริมให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่างกัน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่สนใจ อาทิ การแพทย์ เกษตร และกลุ่มสตาร์ทอัป

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...