‘เศรษฐา’ห่วงน้ำภาคอุตสาหกรรม สั่ง ‘กรมชลฯ’ดูแล หวั่นกระทบแผนดึงลงทุน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ  “Next Chapter ประเทศไทย” วันนี้ (29 ก.ย.) ความตอนหนึ่งว่าวันนี้เรื่องของการบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญเรื่องไม่ท่วมไม่แล้งก็ยังคงต้องพูดถึง เพราะวันนี้มีปัญหาน้ำท่วมในบางจังหวัดแต่ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆที่ไปดู และที่กรมชลประทานรายงานก็ยังน่าเป็นห่วงอยู่ เพราะฝนตกช้า และตกน้อย และฝนที่ตกตอนนี้เป็นการที่ฝนตกหลังเขื่อน ทำให้มีเรื่องกังวลเรื่องการบริหารจัดการน้ำว่าในช่วงต้นปีหน้าจะเจอกับปัญหาภัยแล้งหรือไม่

ส่วนในเรื่องการบริหารน้ำในการบริหารน้ำในภาคอุตสาหกรรมต้องทำได้ดีกว่านี้ ต้องให้ความมั่นใจกับทางธุรกิจได้ดีกว่านี้โดยก่อนหน้านี้ตนเองได้พูดคุยกับเพื่อนนักธุรกิจที่มีโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกมีความกังวลเรื่องของน้ำขาดแคลนเพราะหากไม่ทำอะไรในเดือนเม.ย.ปีหน้าอาจมีเรื่องการขาดแคลนน้ำในภาคอุตสาหกรรมซึ่งก็ได้รับทราบว่าในเรื่องนี้กรมชลประทานก็ได้มีแผนที่จะผันน้ำเข้ามาในพื้นที่แล้ว แต่ในระยะต่อไปก็ต้องพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรเพราะว่าโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่จะดึงเข้ามาลงทุน เช่น อิเล็กทรอนิกส์ การผลิตต่างๆมีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมากทั้งนั้น

นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่าในเรื่องน้ำและชลประทานเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะว่าเราต้องการให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางอาหารและเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารเพื่อที่จะไปเปิดตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่เป็นตลาดใหม่ๆทั้งตะวันออกกลาง และแอฟริกา ที่มีความต้องการอาหารมาก

ดังนั้นในเรื่องของการลงทุนเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับเรื่องน้ำและชลประทานและรัฐบาลถือว่าเรื่องนี้สำคัญมาก และมองว่าสำคัญกว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงด้วยซ้ำไปเพราะการลงทุนในเรื่องแหล่งน้ำและชลประทานถือว่าเงินงบประมาณทุกบาททุกสตางค์ลงสู่ระบบเศรษฐกิจเพราะใช้วัสดุอุปกรณ์ในประเทศทั้งหมดซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้

 

“ในระหว่างที่เราออกไปโรดโชว์ ไปเปิดตลาดและออกไปชักชวนการลงทุนต้องไม่ให้มีปัญหาว่าประเทศไทยขาดแคลนน้ำ ข่าวแบบนั้นเป็น Negative ถ้ามีปัญหานี้ใครจะมาลงทุน ได้สั่งการให้กรมชลประทานไปดูแลแล้วว่าประเทศไทยต้องไม่มีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในพื้นที่อุตสาหกรรมที่จะดึงการลงทุน”นายเศรษฐา กล่าว

สำหรับเรื่องของการพักหนี้เกษตรกร เป็นการแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรที่มีปัญหาหนี้สินสูงเพื่อให้มีกำลังใจก่อนที่มาตรการเรื่องการเพิ่มผลผลิตโดยใช้นวัตกรรมจะลงไป แต่รัฐบาลก็เข้าใจพักหนี้ไปแล้ว 13 หนใน9ปีแล้วยังไม่ดีขึ้น  รัฐบาลก็ไม่อยากให้พักหนี้แล้วพักหนี้อีก แต่เป็นเรื่องความจำเป็น โดยในระยะต่อไปจะมีการเอานวัตกรรมเข้ามาช่วยเสริมการผลิตของเกษตรกร เช่นการเปิดหน้าดินการให้ปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของพืชเป็นการนำการเอานวัตกรรมเข้ามาช่วยเสริมการผลิตของเกษตรกรเช่นการเปิดหน้าดินการให้ปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของพืชเป็นการนำเอาเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรถือว่าเป็นการแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการและการแก้ปัญหาในทางขยะทำให้เราสามารถที่จะทำเรื่องของการพักหนี้เกษตรกรน้อยลงในอนาคต

ส่วนนโยบายประกันรายได้ และจำนำสินค้าเกษตร นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังกล่าวว่ารัฐบาลนี้จะไม่ใช้มาตรการในลักษณะนี้เพราะเกี่ยวกับเรื่องของกลไกตลาดที่รัฐบาลไม่อยากไปแทรกแซง ยกเว้นว่าหากเกิดภัยพิบัติและภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากที่กระทบกับสินค้าเกษตรหากเกิดเหตุการณ์แบบนั้นค่อยพิจารณาดูอีกครั้งถึงมาตรการที่เคยใช้มาว่ามีความจำเป็นหรือไม่

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...