ค้าปลีก 'เจ้าสัวเจริญ' เร่งเครื่องโต ต่อจิ๊กซอว์ บิ๊กซีลุยฮ่องกงแตะ 99 สาขา

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BRC) เปิดเผยว่า หลังจากบิ๊กซี รีเทล ได้ซื้อกิจการร้าน AbouThai ทั้ง 24 สาขา ในฮ่องกง และเปลี่ยนชื่อเป็นบิ๊กซี (Big C) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 บริษัทได้วางแผนเปิดสาขาเชิงรุกทันที

ตามแผนการเปิดร้านใหม่จะเห็นเพิ่มปีละ 25 สาขา เพื่อให้มีสาขารวมมากถึง 99 สาขา ภายในสิ้นปี 2569 และวางแผนการลงทุนระยะยาวในฮ่องกงด้วยงบประมาณกว่า 200 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

ทั้งนี้ การรุกตลาดดังกล่าว จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญช่วยผลักดันยอดขายบิ๊กซีในฮ่องกงจะเติบโตอย่างรวดเร็วจะมากกว่า 1 พันล้านฮ่องกงดอลลาร์ในปี 2568 และมียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นที่ 1,500 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในปี 2569

บริษัทยังวางกลยุทธ์ในการนำเข้าสินค้าแบรนด์ดังจากประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากกว่า 80% ไปจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการและความต้องการของลูกค้าฮ่องกง

ไม่หยุดโตแค่ไทย "บิ๊กซี" เปลี่ยนชื่อ AbouThai หลังซื้อกิจการ

“การซื้อกิจการในครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกของ บิ๊กซี รีเทล ในการขยายธุรกิจออกนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน พร้อมกันนี้บริษัทยังมีแผนการยกระดับ Big C ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติไทยในกลุ่ม TCC ให้มีคุณภาพระดับพรีเมียม รวมถึงมีความสนใจการลงทุนในโครงการพัฒนาไคตั๊ก (Kai Tak) เป็นพื้นที่มหาศาลอยู่กลางเมืองและติดริมน้ำ ซึ่งฮ่องกงต้องการให้ไคตั๊กเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองฮ่องกงในอนาคต”

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความท้าทายในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ฮ่องกงก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เราเชื่อว่าฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินชั้นนำในเอเชียที่เชื่อมโยงตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีนแผ่นดินใหญ่ มีศักยภาพทางธุรกิจสูง รวมถึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยปัจจัยที่เอื้อต่อธุรกิจและการลงทุน มีความเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นกับจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในฐานลูกค้านักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของบิ๊กซี

"บิ๊กซี" พร้อมคำทักทาย "สวัสดี"(Sawasdee)เจาะขาช้อปฮ่องกง

จากปัจจัยสนับสนุนข้างต้น บิ๊กซี รีเทล จึงเลือกฮ่องกงเป็นตลาดแรกนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทเน้นขยายธุรกิจในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยมี “บิ๊กซี” กว่า 2,000 แห่ง ในรูปแบบร้านค้าที่หลากหลาย ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ประกอบด้วย บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี มาร์เก็ต, บิ๊กซี ฟู้ดเพลส และบิ๊กซี มินิ เพื่อบริการแก่ลูกค้า

สำหรับสำนักงานของ บิ๊กซี ในฮ่องกงจะเป็นสำนักงานอิสระและดำเนินงานเฉพาะบิ๊กซีในฮ่องกงเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่สำนักงานใหญ่หรือสำนักงานระดับภูมิภาค และการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ยังตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ บิ๊กซี รีเทล ในการมองหาโอกาสในตลาดที่มีอยู่และการขยายสู่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

ผู้บริหารพร้อมพา "บิ๊กซี" เติบโตในต่างแดน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...