ตลท. เตือนผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงิน หุ้น ALL ติดตามคำชี้แจงของบริษัท

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. ขอให้ บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ ALL ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุป ต่องบการเงินเนื่องจากมีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญต่อความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่อง และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลขาดทุนจากการยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การด้อยค่าเงินมัดจำค่าที่ดิน การยุติข้อพิพาทจากการผิดสัญญาเงินกู้ยืมจากบุคคลภายนอก รวม 1,178 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 781 ล้านบาท รวมทั้งยังมีคดีความที่ถูกฟ้องร้องจากการที่กรรมการทำสัญญาลงทุนในฐานะบริษัทเพียงผู้เดียว และข้อพิพาท ที่บริษัทร่วมทุนเรียกร้องให้บริษัทปฏิบัติตามสัญญา รวมจำนวน 758 ล้านบาท

โดยขอให้ ALL ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 และขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินของ ALL และติดตามคำชี้แจงของบริษัท

สำหรับข้อมูลที่เพิ่งปรากฏในงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2566 

  • ขาดทุนจากการยกเลิกสัญญา จะซื้อจะขายที่ดิน และการด้อยค่าของเงินมัดจำค่าที่ดิน (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 7) มูลค่า 884 ล้านบาท ลักษณะรายการปี 2564 – 2565 มีรายการลักษณะนี้รวม 201 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แจ้งแนวทาง และมาตรการดูแลตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยสอบถาม 
  • ขาดทุนจากการยุติข้อพิพาทจากการผิดสัญญาเงินกู้ยืม (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13) มูลค่า 294 ล้านบาท ลักษณะรายการ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 บริษัทย่อยทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทจากการผิดสัญญาเงินกู้ยืมจากบุคคลภายนอกที่กู้ยืมมา  เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 จำนวน 160 ล้านบาท โดยโอนสิทธิการเช่าช่วงอาคารห้างสรรพสินค้า และอาคารพาณิชย์ของบริษัทย่อยซึ่งเป็นหลักประกันเพื่อชำะหนี้
  • คดีความที่มีนัยสำคัญ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 20.5) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทและกรรมการบริษัทถูกฟ้องร้องทุนทรัพย์ 193 ล้านบาท จากการที่กรรมการของบริษัทได้ทำสัญญาลงทุนในปี 2560 ในฐานะบริษัทเพียงผู้เดียว และผิดนัดชำระคืนเงินต้น และเงินผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญา รวม 6.60 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • ข้อพิพาทที่สำคัญ (หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 20.5) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้ร่วมทุนของกิจการร่วมค้าได้ยื่นคำเสนอ ข้อพิพาทต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของไอซีซี เรียกร้องให้บริษัทจัดสรรเงินกู้ยืมในสัดส่วนของบริษัทจำนวน 565 ล้านบาท และให้บริษัทโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กิจการร่วมค้าตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำขึ้นในปี 2562

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ขอให้บริษัทชี้แจง รายละเอียดของรายการ ผลกระทบต่อบริษัท แนวทางแก้ไข แนวทางปรับปรุงระบบควบคุมภายใน และระบบที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีก รวมถึงความเห็น และบทบาท ของคณะกรรมการ และคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวข้างต้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และผู้ถือหุ้น 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...