‘สภาพัฒน์’ หนุน ‘อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ’ ดันสร้างซัพพลายเชน ลดนำเข้า

เมื่อเร็วๆนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุม "การพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ”  ร่วมกับศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอพท.) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน (กพข.) เจ้าหน้าที่กองบัญชีประชาชาติ (กบป.) และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานประสานนโยบายด้านความมั่นคง (กมค.)

โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และภาคเอกชนประกอบด้วยสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทยเข้าร่วมการประชุม โดยมีนายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อ (ร่าง) การพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และเห็นชอบโครงการบูรณาการสถิติทางการเพื่อสนับสนุนแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570)

โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดทำข้อมูลสถิติที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการติดตามและประเมินผลการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในระยะต่อไป ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้ร่วมกันตามที่ ศอพท.นำเสนอ

นอกจากนั้นที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการผลิตสินค้าเพื่อใช้ภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการผลิตและมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น

รวมทั้งที่ประชุมจะร่วมกันจัดทำข้อเสนอมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่ชัดเจน เสนอผ่านทางคณะอนุกรรมการด้านความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม ภายใต้คณะกรรมการการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

การประชุมได้มีการรายงานสถานะการพัฒนา (ร่าง) ห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยแบ่งกิจกรรมหลักในห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศออกเป็น 6 ด้าน กล่าวคือ

  1. การศึกษาความต้องการและการวิจัยพัฒนา
  2.  การจัดหาและพัฒนาวัตถุดิบ
  3. การผลิตและทดสอบ
  4. การตลาดและการกระจายสินค้า
  5.  การบำรุงรักษา
  6.  การกำจัดซาก

ทั้งนี้ ในห่วงโซ่มูลค่าจะมีปัจจัยสนับสนุนในทุก ๆ กิจกรรมหลัก แบ่งออกเป็น 5 ด้าน กล่าวคือ

  • ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  • ด้านมาตรการและกฎระเบียบภาครัฐ
  • ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • ด้านการพัฒนาแรงงาน
  • และด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม เพื่อความสมบูรณ์ของการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงาน

เพื่อให้ห่วงโซ่มูลค่ามีข้อมูลที่เพียงพอ ถูกต้อง และใช้ในการกำหนดทิศทางและการวางแผนในส่วนต่างๆ รวมถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรมภายในอุตสาหกรรม ตลอดจนกิจกรรมสนับสนุนของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างมีระบบต่อไปได้

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...