เตือน! ไวรัสโคโรนา 20 สายพันธุ์ใหม่ค้างคาว พบเสี่ยงสูงแพร่ระบาดสู่คน

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  จีนออกมาเตือนทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับไวรัสโคโรนา 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวที่อาจ"มีความเสี่ยงสูง" แพร่ระบาดมาสู่คน

ดร. ฉี เจิ่งลี่ ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ได้รับสมญาว่า "หญิงค้างคาว (bat woman)" และ “นักล่าไวรัส (virus hunter)” 

โด่งดังจากงานวิจัยเกี่ยวกับ SARS-CoV-1ออกมาเตือนว่าพบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกว่า 20 สายพันธุ์ใหม่ "มีความเสี่ยงสูง" ที่อาจก้าวข้ามมาระบาดในคน

ในปี 2560 ทีมวิจัยค้นพบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ SARS น่าจะมีต้นกําเนิดมาจากค้างคาวเกือกม้า (Horseshoe Bat) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนดร. ฉี เจิ่งลี่ ถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในช่วงการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากห้องปฏิบัติการของเธอที่สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา แต่เธอปฏิเสธว่าไวรัสโคโรนา-2019 มิได้หลุดมาจากห้องปฏิบัติการของเธอ ปัจจุบันรัฐบาลจีนยังคงสนับสนุนงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ ในการสืบค้นไวรัสในสัตว์ที่อาจแพร่ข้ามมาสู่มนุษย์

ในผลการวิจัยล่าสุด ดร. ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยได้เตือนว่ามีโอกาส "สูงมาก" ที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาอีกในอนาคตไวรัสโคโรนา (CoV) มีสี่สกุล ได้แก่

  • alpha (α)
  • beta (β)
  • gamma (γ)
  • delta (δ) CoV

ทั้งหมดที่ทำให้เกิดการระบาดของมนุษย์นั้นมาจาก alpha- หรือ beta-CoV จากการจำแนกประเภทของ ICTV ล่าสุด พบว่ามี CoV สายพันธุ์ 40 ชนิดในสกุล alpha- และ beta-CoV โดย 27/40 ของสายพันธุ์ CoV (67.5%) สามารถพบได้หรือพบเฉพาะในค้างคาว

หลักฐานของการระบาดของไวรัสโคโรนาในอนาคต

  • ทีมวิจัยได้ระบุว่าพบไวรัสโคโรนาจํานวนกว่า 20 สายพันธุ์ที่มี "ความเสี่ยงสูง" ที่จะแพร่ติดเชื้อในคนได้ โดยให้เหตุผลว่าไวรัสโคโรนาเคยก่อให้เกิดการระบาดจากสัตว์สู่คนมาก่อน (เช่น SARS และ COVID-19) ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่มันจะก่อให้เกิดการระบาดอีกในอนาคต
  • ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปรียบเทียบงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ เสมือนการทำ "พจนานุกรมของไวรัสโคโรนา" ที่จะช่วยในการพยากรณ์และป้องกันการระบาดในอนาคต

ผลกระทบงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่

  • เน้นถึงภัยคุกคามต่อเนื่องจากไวรัสโคโรนาที่มาจากค้างคาว
  • ย้ำให้เห็นว่าภาครัฐควรลงทุนด้านการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสืบค้นหาไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาวัคซีน/ยาสำหรับรักษาล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดในอนาคต
  • เตือนผู้ดูแลระบบสาธารณสุขทั่วโลกให้เตรียมรับมือการแพร่ระบาดของโรคจากไวรัสโคโรนาใหม่ๆ ในอนาคต
  • การถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนาทั้งจีโนมที่แยกเชื้อได้จากสัตว์โดย ดร. ฉี เจิ่งลี่ และ ทีมวิจัยสถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น จะมีคุณค่าอย่างยิ่งในการพยากรณ์และป้องกันโรคระบาดในอนาคต

เหตุใดงานวิจัยของดร. ฉี เจิ่งลี่ จึงมีความสำคัญ

  • เน้นย้ำถึงภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะจากค้างคาว
  • เป็นพื้นฐานในการพยากรณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคต
  • ระบุไวรัสโคโรนาสายพันธุ์จากค้างคาวที่คล้ายกับ SARS-CoV-1, MERS-CoV, และ SARS-CoV-2
  • ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนและยารักษาก่อนที่จะเกิดการระบาด
  • ติดตามเก็บตัวอย่างจากประชากรค้างคาวทำให้สามารถตรวจพบไวรัสใหม่ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้งจีโนมเพื่อติดตามบริเวณที่กลายพันธุ์ซึ่งจำเป็นสำหรับการติดเชื้อในมนุษย์

สรุปได้ว่างานบุกเบิกของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาจากค้างคาวได้วางรากฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อคาดการณ์ ป้องกัน และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น การค้นพบของเธอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมในระบบสาธารณสุขทั่วโลก "พจนานุกรมไวรัสโคโรนา" ของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ น่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งในการรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดจากไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คนในศตวรรษที่ 21

วิธีที่ ดร. ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยใช้ตรวจจับและระบุสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูง 20 สายพันธุ์จากค้างคาวคือ:

  • เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากประชากรค้างคาวทั่วประเทศจีนทั้งจากอุจจาระและการสวอปในช่องปากของค้างคาว
  • ทำการทดสอบด้วยเทคนิค PCR เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในตัวอย่าง
  • ตัวอย่างที่ PCR ให้ผลบวกต่อไวรัสโคโรนา จะถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม
  • นำข้อมูลรหัสพันธุกรรมโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมการสร้างส่วนหนามมาวิเคราะห์เปรียบความเหมือนความต่างกับส่วนหนามของโควิด-19 ที่ระบาดในคนอยู่ในขณะนี้
  • ประเมินความสามารถของไวรัสในการเข้าจับกับตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ของมนุษย์ โปรตีนส่วนหนามหรือสไปค์ (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 สามารถจับกับโปรตีน ACE2 บนผิวของเซลล์ปอด ส่งผลให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์และเริ่มการติดเชื้อ

สรุปว่าหากไม่เตรียมพร้อม หรือขาดการวางแผนเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นระบบและครบวงจรอาจทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อ คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และทำให้สังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อยู่แล้วสั่นคลอนยิ่งขึ้นไปอีก รัฐต้องลงทุนกับการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดระลอกใหม่ของโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในทุกมิติโดยการถอดบทเรียนของการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...