เฉลยแล้ว? ทำไมห้ามใช้ ‘ถ่านอัลคาไลน์’ ใส่ในรีโมตแอร์ พังเร็วจริงหรือ?

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ตั้งข้อสงสัยลงในกลุ่ม ความรู้รอบตัว เกี่ยวกับเรื่องการใช้ "ถ่านอัลคาไลน์"  Alkaline มีผลอย่างไรหากใช้กับ "รีโมต" แอร์ อันตรายหรือไม่ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไร? เนื่องจากหอพักปิดประกาศห้ามใช้ถ่าน "ถ่านอัลคาไลน์" 

รายละเอียดโพสต์ระบุว่า อยากทราบว่า "ถ่านอัลคาไลน์"  Alkaline มีผลกับ "รีโมต" แอร์จริงไหมคะ มีผลอย่างไร?

 

โดยข้อความในป้ายประกาส ระบุว่า ประกาศ เรียนผู้เช่าห้องทราบ ขอความร่วมมือกรุณาอย่าใช้ "ถ่านอัลคาไลน์"   Alkaline ใส่ใน "รีโมต" แอร์ หากเกิดความเสียหายจะถูกปรับให้ใช้ถ่านธรรมดา ขอบคุณค่ะ

 

 

 

 

หลังเรื่องราวดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตต่างแชร์ต่อและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ระบุว่า "ถ่านอัลคาไลน์" ไม่เหมาะกับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ อย่างนาฬิกาปลุก หรือ "รีโมต" เพราะอย่างที่บอกว่า "ถ่านอัลคาไลน์"  มีพลังงานสูง และความจุเยอะ กว่าถ่านจะหมด อาจทำให้ของเหลวภายในไหลเยิ้มออกมาจนทำให้อุปกรณ์เสียหายได้,ไม่ใช่เฉพาะกับ "รีโมต" แอร์ รีโมตทุกอย่าง นาฬิกาติดผนังก็ไม่ควรใช้ อุปกรณ์พวกนี้มันใช้พลังงานน้อย ใส่ถ่านคาไว้นานๆ มันจะมีของเหลวไหลออกมาจากถ่าน ขั้วถ่านเป็นสนิม อุปกรณ์เสียหาย,

 

 

"ถ่านอัลคาไลน์"  alkaline จะให้กระแสที่เยอะกว่า แรงดันอาจจะต่ำกว่าหน่อย เหตุผลของป้ายนี้คือ "รีโมต" มันใช้พลังงานน้อย กว่าถ่านจะหมด ถ่านอาจจะเสื่อมแล้วของเหลวมันไหลออกมา หรือเรียกว่าถ่านเน่าคารีโมต ทำให้รีโมตเสียหายได้ ถ้าไม่มีจริง ๆ ในตอนนั้นก็สามารถใช้ได้ แต่ก็ไปหาถ่านธรรมดามาใส่แทนจะเหมาะสมกว่า

 

 

เกี่ยวกับประเด็นนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเผยผ่านเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์  ระบุว่า จริงๆ แล้ว การเลือกใช้แบตเตอรี่ชนิดใดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มักจะพิจารณาจากตัวเครื่องใช้นั้นเป็นหลักว่า เป็นแบบใด

  •  แบบ high-drain ที่ดึงพลังงานไปใช้อย่างหนัก เช่น พวกกล้องดิจิตอล
  • แบบ low-drain ซึ่งค่อยๆ ดึงพลังงานไปใช้เรื่อยๆ เช่น รีโมตคอนโทรล

 

 

ตามหลักทั่วไปแล้ว "ถ่านอัลคาไลน์" สามารถนำมาใช้กับนาฬิกาแขวนผนังได้อย่างเหมาะสมแล้ว เพราะเป็นอุปกรณ์แบบ โลว์-เดรน ขณะที่พวกกล้องดิจิตอล หรือเครื่องใช้ไฮ-เดรนอื่นๆ ควรไปใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียม หรือ แบบชาร์จไฟได้

 

 

ทั้ง "ถ่านอัลคาไลน์" และ ถ่านซิงค์คาร์บอน ล้วนแล้วแต่เหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบโลว์-เดรน จุดต่างของพวกมันอยู่ที่สารอิเล็กโทรไลต์ (สารตัวนำไฟฟ้า) ที่ใส่อยู่ภายใน คือ ถ่านแบบซิงค์คาร์บอน มักจะใช้สารแอมโมเนียมคลอไรด์ ขณะที่ถ่านอัลคาไลน์ มักจะใช้สารโปแตสเซียมไฮดรอไซด์

 

 

"ถ่านอัลคาไลน์" จะมีความจุของพลังงานสูงกว่า และสามารถเก็บรักษาไว้ (โดยยังไม่ใช้) ได้นานกว่า มันจึงเหมาะกว่าถ่านแบบซิงค์คาร์บอน ถ้าต้องไปใส่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูง เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า ของเล่น หรือ คอนโทรลเลอร์เล่นเกม

 

 

ส่วน ถ่านแบบซิงค์คาร์บอน มีข้อดีที่ราคาถูกกว่า ให้ประสิทธิเทียบกับราคาได้ในอัตราส่วนที่ดีกว่า จึงคุ้มค่ากว่าที่จะเอาไปใช้กับอุปกรณ์ที่เป็นโลว์-เดรน ที่กินไฟต่ำ เช่น "รีโมต" คอนโทรล นาฬิกา เครื่องตรวจจับควัน ไฟฉาย เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทาสหมาใจสลาย 'กอลลั่ม' เซเลบ 4 ขา กลับดาวหมาแล้ว

ไปต่อไม่ไหว ร้านอาหารชื่อดัง Easy Grill ประกาศปิดกิจการถาวร

'สั่งทำสติ๊กเกอร์ติดของชำร่วย' แล้วได้แบบนี้ จะขำหรือร้องไห้ก่อนดี

พยาธิจิ้มแจ่ว จวกยับอินฟลูฯ โชว์เปิบ ’พยาธิ’ จิ้มแจ่ว ทำชาวเน็ตอ้วกแทบพุ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Read More

ทาสหมาใจสลาย 'กอลลั่ม' เซเลบ 4 ขา กลับดาวหมาแล้ว

Read More

ไปต่อไม่ไหว ร้านอาหารชื่อดัง Easy Grill ประกาศปิดกิจการถาวร

Read More

'สั่งทำสติ๊กเกอร์ติดของชำร่วย' แล้วได้แบบนี้ จะขำหรือร้องไห้ก่อนดี

ข่าวที่น่าสนใจ

ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ ผนึก ไทย ไลอ้อน แอร์ มอบส่วนลดห้องพักในเครือฯ สูงสุด 30%


หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ มอง ‘จีน’ มีอิทธิพลศก.ที่สุดในอาเซียน สัดส่วนทะลุ 70% เป็นรองแค่ ‘ลาว’

สถาบันคลังสมองในสิงคโปร์ ISEAS-Yusof Ishak Institute ได้เปิดเผยรายงานประจำปีที่มีชื่อว่า State of So...

ตลาด“ปาล์ม”ปี67ปัจจัยอากาศปั่นป่วน เเนะเกษตรกร-โรงสกัดคุมคุณภาพการผลิต

สถานการณ์ผลผลิต“ปาล์มน้ำมัน” ปี 2567 คาดว่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม...

เช็คโทษปรับค้างค่า 'ทางด่วน' เมินจ่ายเจอสูงสุด 10 เท่า

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว...

ชะตากรรม ‘GDPไทย‘ หลังไตรมาส1 จ่อทรุด ’เอกชน‘ คาดกรอบ 67 ขยายตัว 1.5-2.7%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1...