ดร.เอ้ ชี้ไฟไหม้ รง.คือวงจรอุบาทว์ธุรกิจรีไซเคิล

เป็นเรื่องร้อน ที่ต้องจับตากับปรากฎการณ์เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานสารเคมี ที่ตอนนี้ยังเป็นประเด็นสำคัญและถูกตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดจึงเกิดเหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีบ่อยครั้ง


ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงอันตรายของเหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีทั้งมีควันดำสารพิษ ปกคลุมเป็นวงกว้าง และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของประชาชน

 

 

ดร.เอ้ สุชัชวีร์ ยังตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่มาให้เห็น พร้อมแสดงความเห็นถึงกระบวนการที่ซ่อนอยู่


ปัญหาในการ"แก้ปัญหา"เผาโรงงานสารเคมี


1. จากนโยบายส่งเสริมธุรกิจรีไซเคิล ทำให้มีการตั้งโรงงานบำบัด"ของเสียอันตราย"ที่ขึ้นทะเบียนไว้ถึงกว่า 2 พันโรงงาน


2. เมื่อมีเยอะก็ต้องแย่งลูกค้ากัน โดยการตัดราคาค่า"บำบัด"กันอุตลุด


3. โรงงานที่ต้องการกำจัดของเสียที่เป็นภาระต้นทุนก็จะเลือกราคาที่ต่ำที่สุด


4. เมื่อได้รับงานในราคา "ต่ำที่สุด" มาแล้ว การบำบัดหรือกำจัดตามหลักวิชาการจึงแปลว่า "ขาดทุน" สถานเดียว ทางเลือกเดียวของโรงงานที่รับของเสียมาจึงใช้วิธีลักลอบนำไปทิ้งในที่สาธารณะแทนการบำบัด


5. โรงงานที่ขายของเสียให้โรงงานกำจัดก็ถือว่าหมดหน้าที่แล้ว และกฎหมายไม่ได้ห้าม จะเลือกซื้อบริการกำจัดของเสียของใครก็ได้ ราคาเท่าไรก็ตาม ตราบเท่าที่โรงงานกำจัดนั้นขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอย่างถูกต้อง


6. มีการแก้กฎกระทรวงนี้ว่าถึงส่งของเสียออกไปกำจัดแล้วแต่ถ้าถูกนำไปลักลอบทิ้ง โรงงานต้นทางเจ้าของของเสียก็ต้องรับผิดชอบด้วย


7. เมื่อมีการแก้กฎหมายตรงนี้ ก็เกิดวิธีใหม่ แทนที่จะลักลอบนำไปทิ้งในที่สาธารณะให้จับได้เหมือนก่อน ก็ใช้วิธีขนออกไปพักไว้ใน"โรงงานบำบัด"ที่ไม่มีแม้แต่เครื่องจักร ไม่มีใบอนุญาต และเมื่อถูกดำเนินคดี ก็เผาทิ้งไปทั้งโรงงานเลย (โรงงานที่จริงๆมีสภาพแค่โกดังเก็บของ)


 

8. ค่าปรับของการทิ้งของเสีย ปรับแค่ 2 แสน แต่ค่าบำบัดอาจจะสูงนับสิบล้าน ยอมเสียค่าปรับดีกว่า

 


9. มีการออกกฎกระทรวงเพื่อสนับสนุนธุรกิจรีไซเคิลด้วยการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตในการขนย้าย "ของเสียไม่อันตราย" ออกจากโรงงาน จึงมีการขน "ของเสียอันตราย" ปนออกมาด้วยเพื่อเลี่ยงขั้นตอนการขออนุญาต และฝังกลบโดยไม่บำบัด

 


10. โรงงานที่มี "ของเสียอันตราย"มาก ใช้วิธีไปตั้งโรงงานบำบัดหรือรีไซเคิล ปลอมๆขึ้นมาอีกโรงงาน และทำหน้าที่รับของเสียไปบำบัดหรือจริงๆคือไปกองทิ้งไว้

จากนั้นก็ "เกิดเหตุไฟไหม้" ของเสียถูกเผาทิ้งด้วยต้นทุนต่ำ และโรงงานเจ้าของกากไม่ต้องรับผิดชอบเพราะเป็นเหตุสุดวิสัยของโรงงานบำบัด

 


11. กรมโรงงานมีอำนาจสั่งปิดโรงงานที่ทำผิดเหล่านี้ได้ แต่ทันทีที่ใช้คำสั่ง "ปิดโรงงาน" อำนาจในการควบคุมดูแลก็ไม่ได้อยู่กับกรมโรงงานแล้ว เพราะไม่ใช่ "โรงงาน" อีกต่อไป ทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นไปอีก

 


12. กรมโรงงานต้องเลี่ยงมาใช้คำสั่ง "ปิดโรงงานชั่วคราวเพื่อปรับปรุง" ซึ่งจะทำให้ยังมีอำนาจจัดการโรงงานนี้ได้ต่อ

 


13. คำสั่งนี้ยิ่งเข้าทางโรงงานกำมะลอ เพราะ "ปิดเพื่อปรับปรุงแก้ไข" แต่จะให้ปรับปรุงแก้ไขอะไร เครื่องจักรยังไม่มีสักเครื่อง สุดท้ายก็ได้แต่รวบรวมกากของเสียมาแยกประเภทและจัดเก็บให้เรียบร้อย ซึ่งง่ายต่อการเผารวมหนักขึ้นไปอีก

 


14. หน่วยราชการนำกากของเสียไปบำบัดหรือกำจัดเองแล้วไปเรียกเก็บเงินจากผู้กระทำผิดได้ไหม 'ได้' แต่ต้องมีงบเพื่อบำบัดเป็นร้อยๆล้านที่ต้องตั้งสำรองไว้ และกว่าจะได้คืนต้องรอให้คดีในชั้นศาลสิ้นสุดก่อน

 

ก่อนจะทิ้งท้ายว่า เหตุไฟไหม้โรงงานไม่ใช่แค่อุบัติเหตุ และไม่ใช่แค่สารเคมีรั่วไหล แต่เป็นกระบวนการเผาเพื่อทำลาย เพื่อ "ปกปิดเรื่องเน่าเสียทั้งหมด"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทนายตั้ม' ไม่แผ่ว ปูดอีก 'หลักสูตร กอส.' ที่โดนไฮโซเบียดบัง

'บิ๊กต่าย' ไม่ยุ่ง ชุดสอบวินัยเรียก 'บิ๊กโจ๊ก' รับทราบข้อกล่าวหาพรุ่งนี้

เตือน 'อากาศร้อนจัด' ระวังเป็นโรค Hyperthermia อันตรายถึงตาย

เกินทำใจ สุดสลด 'ว่าที่ ร.ต.หญิง' จบชีวิตตัวเอง ตามเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Read More

'ทนายตั้ม' ไม่แผ่ว ปูดอีก 'หลักสูตร กอส.' ที่โดนไฮโซเบียดบัง

Read More

'บิ๊กต่าย' ไม่ยุ่ง ชุดสอบวินัยเรียก 'บิ๊กโจ๊ก' รับทราบข้อกล่าวหาพรุ่งนี้

Read More

เตือน 'อากาศร้อนจัด' ระวังเป็นโรค Hyperthermia อันตรายถึงตาย

ข่าวที่น่าสนใจ

คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 20 ร่วมโหวต รางวัลมหาชน


หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ มอง ‘จีน’ มีอิทธิพลศก.ที่สุดในอาเซียน สัดส่วนทะลุ 70% เป็นรองแค่ ‘ลาว’

สถาบันคลังสมองในสิงคโปร์ ISEAS-Yusof Ishak Institute ได้เปิดเผยรายงานประจำปีที่มีชื่อว่า State of So...

ตลาด“ปาล์ม”ปี67ปัจจัยอากาศปั่นป่วน เเนะเกษตรกร-โรงสกัดคุมคุณภาพการผลิต

สถานการณ์ผลผลิต“ปาล์มน้ำมัน” ปี 2567 คาดว่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม...

เช็คโทษปรับค้างค่า 'ทางด่วน' เมินจ่ายเจอสูงสุด 10 เท่า

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว...

ชะตากรรม ‘GDPไทย‘ หลังไตรมาส1 จ่อทรุด ’เอกชน‘ คาดกรอบ 67 ขยายตัว 1.5-2.7%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1...