สหรัฐส่งสัญญาณเตือน 'ค่าเงินเยน' ชี้เคลื่อนไหวมากเกินไป

เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวยอมรับว่า ค่าเงินเยน ญี่ปุ่น มีการเคลื่อนไหวที่มากเกินไปในสัปดาห์นี้ แต่ก็ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินหรือไม่ โดยระบุว่าการแทรกแซงค่าเงินนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้พบและต้องมีการหารือกันก่อน    

ทั้งนี้ ค่าเงินเยน ญี่ปุ่น มีการเคลื่อนไหวในเชิงแข็งค่าขึ้นอย่างผิดปกติเมื่อวันจันทร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยเคลื่อนไหวจากระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี ที่เหนือ 160 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปอยู่ที่ประมาณ 156 เยนต่อดอลลาร์ และเกิดการเคลื่อนไหวในทำนองนี้อีกครั้งเมื่อวันร์ที่ 2 พ.ค. จนค่าเงินเยนไปเคลื่อนไหวในระดับประมาณ 153 เยนต่อดอลลาร์ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์ก 

บลูมเบิร์กวิเคราะห์ตัวเลขจากงบบัญชีกระแสรายงานของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดการณ์ว่าทางการญี่ปุ่นใช้เงินเกือบ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 2.2 ล้านล้านบาท) ในการแทรงแซงเพื่อพยุงค่าเงินเยน

ทว่ารัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น ชุนอิจิ ซูซุกิ ปฏิเสธที่จะยืนยันว่ามีการแทรกแซงจริงหรือไม่ 

ทั้งนี้ เยลเลนในฐานะรัฐมนตรีคลังสหรัฐเคยให้ความเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับการแทรกแซงค่าเงินของญี่ปุ่นในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปกติแล้วรมว.คลังสหรัฐจะย้ำถึงข้อตกลงของ กลุ่มประเทศ G7 ที่จะให้เรื่องค่าเงินเป็นไปตามกลไกของตลาด และก่อนหน้านี้เยลเลนเคยย้ำว่า

การแทรกแซงค่าเงินจะเหมาะสมก็ต่อเมื่อทำเพื่อลดความผันผวนเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ดี ในอดีตที่มีรายงานว่าญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินในช่วงปลายปี 2565 ทางการสหรัฐก็ไม่ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ญี่ปุ่นแต่อย่างใด  


หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ มอง ‘จีน’ มีอิทธิพลศก.ที่สุดในอาเซียน สัดส่วนทะลุ 70% เป็นรองแค่ ‘ลาว’

สถาบันคลังสมองในสิงคโปร์ ISEAS-Yusof Ishak Institute ได้เปิดเผยรายงานประจำปีที่มีชื่อว่า State of So...

ตลาด“ปาล์ม”ปี67ปัจจัยอากาศปั่นป่วน เเนะเกษตรกร-โรงสกัดคุมคุณภาพการผลิต

สถานการณ์ผลผลิต“ปาล์มน้ำมัน” ปี 2567 คาดว่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม...

เช็คโทษปรับค้างค่า 'ทางด่วน' เมินจ่ายเจอสูงสุด 10 เท่า

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว...

ชะตากรรม ‘GDPไทย‘ หลังไตรมาส1 จ่อทรุด ’เอกชน‘ คาดกรอบ 67 ขยายตัว 1.5-2.7%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1...