'นวัตกรรมสีเขียว' เพื่อการออกแบบ ทางเลือก สู่สังคมคาร์บอนต่ำ

เทรนด์การก่อสร้างในปัจจุบัน เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่เพียงแค่กระบวนการก่อสร้าง แต่เริ่มตั้งแต่การออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ในด้านความยั่งยืน ลดการใช้พลังงาน ครอบคลุมไปถึงการใช้ชีวิตสำหรับผู้อยู่อาศัยทุกวัย โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอาย ที่ต้องการนวัตกรรมและโซลูชั่นรองรับ

 

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) เผยเทรนด์วัสดุการออกแบบสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างในในปี 2024 มี 5 เทรนด์ที่น่าสนใจ ดังนี้ วัสดุที่มาจากท้องถิ่น (Locally Sourced Material) การใช้วัสดุท้องถิ่นที่ผลิตได้ในประเทศ เป็นหัวใจสำคัญในการช่วยลดการปล่อยมลพิษ Carbon Footprint จากการขนส่งจากต่างประเทศได้อย่างมหาศาล อีกทั้ง ยังเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่น

 

วัสดุรีไซเคิล (Recycled Material) การนำเศษวัสดุก่อสร้างหรือขยะจากการก่อสร้าง นำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิต รวมทั้งการใส่ไอเดียและนวัตกรรมต่อยอดแปลงเป็น Upcycled Material ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เช่นกัน นอกจากจะช่วยลดขยะที่จะไปยังหลุมฝังกลบ ก็ยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

  • “อุตสาหกรรมก่อสร้าง” ยั่งยืน เทรนด์แห่งอนาคต
  • ‘ก่อสร้าง’เร่งลบภาพผู้ร้าย ปรับตัวสู่ความยั่งยืน
  • โอกาสและความท้าทายในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างไทย

 

วัสดุชีวภาพ (Bio-base Material) วัสดุที่มาจากธรรมชาตินี้เริ่มเป็นที่นิยมและมีการวิจัยและพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากขึ้น เช่น ไม้ ไม้ไผ่ อิฐไมซีเลียมที่ทำมาจากเชื้อรา หรือแม้แต่กัญชง (Hemp) เพราะวัสดุที่ผลิตมาจากชีวภาพนั้น เป็นวัสดุที่สามารถปลูกขึ้นมาทดแทนใหม่ได้เรื่อยๆ มีความยั่งยืนกว่าพวกคอนกรีต ที่ไม่สามารถสร้างภูเขาขึ้นมาทดแทนได้ และวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาตินี้ ยังส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยด้าน Mental Health อีกด้วย

 

วัสดุอัจฉริยะ (Smart Material) เป็นการพัฒนาวัสดุให้มีคุณสมบัติดีขึ้น อย่างเช่น คอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้ ผนังอาคารที่ปรับเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิและแสง และกระเบื้องมุงหลังคาที่ประหยัดพลังงาน ทั้งหมดนี้กำลังกลายเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากขึ้นในอนาคต

 

วัสดุที่ดีต่อสุขภาพ (Health Material) วัสดุล้วนมีผลกระทบต่อผู้อยู่ภายในอาคาร หากเข้าใจจะเลือกคุณสมบัติที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ได้แก่ วัสดุ Non-Toxic สารพิษต่ำ, วัสดุ Low VOC , วัสดุลดการสะสมของฝุ่น เชื้อรา และแบคทีเรีย หรือจะเป็นวัสดุที่ช่วยทำให้คุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารมีคุณภาพที่ดี อย่างสีฟอกอากาศ กระเบื้องต้านไวรัส ผ้าม่านลดการสะสมของฝุ่น ซึ่งเทรนด์วัสดุด้านสุขภาพนี้เป็นเทรนด์ที่ยังคงได้รับความสนใจและมีวัสดุใหม่ๆ ในท้องตลาดที่เน้นเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

 

 

“ออกแบบ” จุดเริ่มความยั่งยืน

“นำพล มลิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เดคคอร์ (SCGD) COTTO กล่าวระหว่าง เยี่ยมชมบูทนิทรรศการ SCG ในงานสถาปนิก’67 หรือ Architect Expo 2024 ภายใต้แนวคิด “SCG FORWARD INTO FUTURE LIVING: SUSTAINING SPACE AND TECHNOLOGY”ก้าวสู่รูปแบบการใช้ชีวิตแห่งอนาคต โดยระบุว่า ทุกปีที่เราสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change การใช้ชีวิตที่ผ่านมา เห็นแล้วว่าวิกฤติยิ่งแย่ลง ขณะที่เด็กรุ่นใหม่ ก็ให้ความตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น พฤติกรรมจะเปลี่ยนเร็ว

 

“สำหรับการก่อสร้างหากจะใส่ใจสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มที่การออกแบบ โดยเลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทย ถือว่ามีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ตอนนี้ยังถือว่าตลาดสัดส่วนน้อยราว 10% ขณะที่เทคโนโลยีต่างๆ และราคาเข้าถึงได้มากขึ้น เป็นแรงผลักให้ตลาดเติบโต โดยประเทศไทยมีการเกาะเทรนด์นี้อยู่“

 

 

Green Choice ทางเลือกผู้บริโภค

นำพล กล่าวต่อไปว่า เมื่อดูเทรนด์ค่อนข้างเติบโตมากกว่า 10% ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับ เอสซีจี มีสินค้าภายใต้ SCG Green Choice เป็นนโยบายในบริษัทที่เอสซีจีถือหุ้นทั้งหมด ในการเร่งพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวกับ Green ให้ได้มากที่สุด

 

“เอสซีจี เดคคอร์ เองก็มีการตั้งเป้าหมายในการวางสินค้าที่ขายผ่าน SCG Green Choice ได้มากกว่า 80% จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 70% เป็นตัวบังคับให้เร่งพัฒนาสินค้ามากขึ้น”

 

SCG Green Choice ถือเป็นการปรับเปลี่ยนฉลากจาก SCG eco value ในปี 2563 โดยยังคงอ้างอิงมาตรฐาน ISO 14021 เพื่อเป็นตัวช่วยผู้บริโภคในการเลือกสินค้า บริการ และโซลูชันที่ตอบโจทย์ความใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับมั่นใจได้ว่าจะเป็นสินค้า บริการ และโซลูชันที่รักษ์โลกและดีต่อคุณภาพชีวิต

 

ฉลาก SCG Green Choice ในปัจจุบัน ถูกนำมาใช้แทน SCG Eco Value ซึ่ง เอสซีจี เป็นองค์กรไทยรายแรกที่กำหนดฉลากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเภทการรับรองตนเอง

 

นวัตกรรม ตอบโจทย์ความยั่งยืน

สำหรับ SCGD และ COTTO ในฐานะผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์ตกแต่งพื้นผิว และสุขภัณฑ์ในอาเซียน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ผ่านการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก โดยการใช้พลังงานที่มีคาร์บอนต่ำ พลังงานจากชีวมวล

 

 

รวมทั้งการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดการขยะให้เกิดมูลค่า ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ผู้คนในสังคม มุ่งสู่การเป็นองค์กร NET ZERO Carbon Emission ภายในปี 2050

 

โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลาย อาทิ วัสดุตกแต่งผิวจากหินธรรมชาติแท้อย่าง “STONE DECOR COLLECTION” ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตทำให้มีความบางเพียง 1.5-2 มิลลิเมตร แข็งแรงทนทานต่อรอยขีดข่วน

 

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสินค้ากระเบื้องตกแต่ง “ECO Collection” ที่ลดการใช้ทรัพยากรใหม่สูงสุด 50% รวมทั้งสุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ และอุปกรณ์ Smart Lifestyle Bathroom

 

ผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นบุผนังและและเพดานโดย Ultra Veneer Flooring – LT By COTTO ซึ่งได้รับการรองรับจาก SCG GREEN CHOICE ช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยที่ดี ประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ยืดอายุการใช้งาน และได้รับการรับการรองรับจาก VIRGIN MATERIALS ว่าปราศจากสารเคมีอันตรายและฟอร์มาลดีไฮด์ ใช้กระบวนการผลิต Zero Waste รวมทั้งอายุการใช้งานที่นานกว่า World Class Certification เป็นต้น

 

นำพล กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน สินค้าไม่ใช่แค่ฟังก์ชั่น แต่มีเทคโนโลยี และดีไซน์เข้ามา ขณะเดียวกัน เราพยายามลดต้นทุนในกระบวนการผลิต หรือเรียกว่า Green Process แต่ละปีมีการลงทุนเรื่องของโซลาร์เซลล์ ลดการใช้ฟอสซิล รวมถึง มองหาพลังงานทางเลือก โดยใช้แกลบ นำมาเผาเพื่อเป็นพลังงานในการผลิต หรือ ไบโอแมส แต่ละปีเราทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุน และลดการปล่อยคาร์บอน

 

4 นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต

 

ด้าน วชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Smart System Solution ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง เผยว่า เอสซีจี มองว่าวัสดุไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นพื้นที่การใช้ชีวิตและการอยู่อาศัย ฉะนั้น จึงมีการคิดต่อยอดว่าจะทำอย่างไรให้วัสดุ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของบ้านและอาคาร ตอบโจทย์ความต้องการและเทรนด์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องพื้นที่ (Space) เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology) รวมไปถึงความยั่งยืน (Sustainability) 

 

 

ทั้งนี้ เอสซีจี ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ ONNEX by SCG Smart Living ที่รวมนวัตกรรมเพื่อบ้านและอาคาร ตอบโจทย์การใช้ชีวิตด้วย Smart Technology ไม่ว่าจะเป็น

‘ONNEX Solar Roof Solutions’ ช่วยประหยัดค่าไฟสูงสุด 60% พร้อมเทคโนโลยี Solar Fix สิทธิบัตรเฉพาะเอสซีจี ช่วยเสริมความปลอดภัยยิ่งขึ้น และแก้ปัญหาหลังคารั่วหลังติดตั้งโซลาร์เซลล์

‘ONNEX Active Air Quality’ แก้ปัญหาคุณภาพอากาศ ด้วยการเติมอากาศดีเพื่อบล็อคฝุ่นและเชื้อโรค เพิ่มออกซิเจนในบ้าน โดยไม่ง้อเครื่องกรองอากาศ

‘ONNEX Active Air Flow’ แก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ด้วยระบบถ่ายเทและระบายอากาศ ช่วยให้บ้านเย็นลง 2-5 องศาเซลเซียส

‘DoCare’ (Smart Home Solution for Seniors) เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับและใช้งานจริงแล้วทั่วโลก เฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน อาทิ เรดาร์ตรวจจับการล้ม อุปกรณ์ขอความช่วยเหลือด้วยเสียง และอุปกรณ์ช่วยติดตามสุขภาพประจำบ้าน 

 

 


หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ มอง ‘จีน’ มีอิทธิพลศก.ที่สุดในอาเซียน สัดส่วนทะลุ 70% เป็นรองแค่ ‘ลาว’

สถาบันคลังสมองในสิงคโปร์ ISEAS-Yusof Ishak Institute ได้เปิดเผยรายงานประจำปีที่มีชื่อว่า State of So...

ตลาด“ปาล์ม”ปี67ปัจจัยอากาศปั่นป่วน เเนะเกษตรกร-โรงสกัดคุมคุณภาพการผลิต

สถานการณ์ผลผลิต“ปาล์มน้ำมัน” ปี 2567 คาดว่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม...

เช็คโทษปรับค้างค่า 'ทางด่วน' เมินจ่ายเจอสูงสุด 10 เท่า

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว...

ชะตากรรม ‘GDPไทย‘ หลังไตรมาส1 จ่อทรุด ’เอกชน‘ คาดกรอบ 67 ขยายตัว 1.5-2.7%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1...