มองการเงินเพื่อความยั่งยืน ผ่านกลไก ESG

 เพราะผลประกอบการที่เกิดขึ้น จะดีขึ้น หรือติดลบ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด จากหลายปัจจัยที่เกิดจากสถานการณ์ที่ผันแปรไปตามเศรษฐกิจของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และเป็นแก่นหลักของกระบวนการในธุรกิจที่เราควรใส่ใจและยึดโยงให้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ นั่นคือ “ความยั่งยืน” (Sustainability)

ไม่ใช่แค่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง กระบวนการใด กระบวนการหนึ่ง ที่ต้องให้ความสำคัญกับ “ความยั่งยืน” (Sustainability) แต่ควรเป็นทุกธุรกิจ ทุกกระบวนการ ที่ต้องหันมาให้ความสำคัญ และลงมือทำให้ความยั่งยืนที่กล่าวนี้สามารถจับต้องได้

รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก ก็ยังต้องใช้โมเดลของ Total Green Real Estate Development-Service นำทางเพื่อให้เส้นทางธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

ภายใต้กลยุทธ์การเงินสีเขียว (Green Finance) หรือ การเงินเพื่อความยั่งยืน เป็นตัวช่วยสำคัญที่นำมาสู่ความยั่งยืนในทุกองค์กร ผ่านกลไก ESG (Environmental (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม), Governance (ธรรมาภิบาล) โดยกลยุทธ์การเงินสีเขียวนี้มุ่งเน้นที่ Governance ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส ตรวจสอบได้

ในมิติทางการเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการ (Pre-Finance) สิ่งสำคัญคือ แหล่งที่มาของเงินทุน ต้นทุนของเงินทุน และการบริหารจัดการเงินดังกล่าวให้อยู่ในเส้นทางของธุรกิจ ไม่ใช้เงินผิดประเภท นอกจากนี้ยังสามารถประสานเชื่อมต่อเส้นทางไปถึงเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย (Post-Finance) ในการประสานงานสนับสนุนให้ลูกค้าได้แหล่งการเงินที่มีคุณภาพ ภายใต้วินัยทางการเงินที่เหมาะสมกับลูกค้าทุกท่าน ผ่านสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ ทั้งยังร่วมมือกันหาแนวทางปฏิบัติให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ถูกต้องตามระเบียบข้อกำหนดทางการเงิน สร้างฐานข้อมูลที่เป็นระบบ เข้าถึงได้ และมีมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน เพื่อให้ทุกกิจกรรมมีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

ในสังคมที่หลายภาคส่วนกำลังผลักดันให้ทุกคนร่วมกันสร้างโลกที่ดีขึ้น กลยุทธ์การเงินสีเขียว (Green Finance) ถือเป็นอีกเสียงหนึ่งสำคัญที่กระตุ้นให้เห็นถึงจุดยืนว่าการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น นอกจากจะมุ่งเน้นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และตรงไปตรงมาตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของภาครัฐที่กำกับดูแล ยังเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

 และไม่ว่าแต่ละองค์กรจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ที่สุดแล้ว “ความยั่งยืน” (Sustainability) จะเป็นหนึ่งแกนหลักที่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน จับมือกันสร้างให้กลายเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพบนโลกธุรกิจสีเขียว


หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ มอง ‘จีน’ มีอิทธิพลศก.ที่สุดในอาเซียน สัดส่วนทะลุ 70% เป็นรองแค่ ‘ลาว’

สถาบันคลังสมองในสิงคโปร์ ISEAS-Yusof Ishak Institute ได้เปิดเผยรายงานประจำปีที่มีชื่อว่า State of So...

ตลาด“ปาล์ม”ปี67ปัจจัยอากาศปั่นป่วน เเนะเกษตรกร-โรงสกัดคุมคุณภาพการผลิต

สถานการณ์ผลผลิต“ปาล์มน้ำมัน” ปี 2567 คาดว่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม...

เช็คโทษปรับค้างค่า 'ทางด่วน' เมินจ่ายเจอสูงสุด 10 เท่า

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว...

ชะตากรรม ‘GDPไทย‘ หลังไตรมาส1 จ่อทรุด ’เอกชน‘ คาดกรอบ 67 ขยายตัว 1.5-2.7%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1...