ดีเดย์มิ.ย.ฟอร์มทีมบอร์ด AI แห่งชาติ ‘ดีอี’ ประกาศความพร้อมยกร่างกฎหมาย

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวภายหลังเข้าร่วมการประชุมงานเทคโนโลยีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Digital and Intelligent APAC Congress 2024 ว่าแนวทางการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำในส่วนของประเทศไทย ว่าประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นคือการเร่งการพัฒนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ภายใต้แผนงาน "The Growth Engine of Thailand" เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

โดยในฐานะกลไกการขับเคลื่อนหลักที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย อีกทั้งยังจะช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลโดยรวมของประเทศ 

ทั้งนี้ โครงการสำคัญภายใต้แผนงานริเริ่มนี้ ได้แก่ โครงการ Cloud First Policy การพัฒนา AI สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล การแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยไทยได้มีบทบาทสำคัญ ในการจัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ (The ASEAN Working Group on Anti - Online Scam : WG - AS) และโครงการความร่วมมือที่หลากหลายกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในส่วนของ AI ที่มีความสำคัญอย่างมาก ดีอีได้ปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ โดยจะมีการปรับปรุงให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านเศรษฐกิจด้วย เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ให้มีความสัมพันธ์ทั้งดาต้า เซ็นเตอร์ คลาวด์ และระบบคอมพิวเตอร์ระดับสูง

โดยคณะกรรมการ AI หรือบอร์ด AI แห่งชาตินี้ จะมีผม (รัฐมนตรีว่าดีอี) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมร่วมเป็นประธานโดยคณะกรรมการทั้งชุดจะมีประมาณ 10 คนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามกระบวนการภายในเดือนมิ.ย. เพราะตามไทม์ไลน์ต้องส่งให้และดีอีเห็นชอบโดยบอร์ดดีอีจะมีการประชุมครั้งหน้าในเดือนพ.ค.นี้ หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 

"นอกจากจะมีการปรับปรุงองค์คณะของบอร์ดเอไอแล้ว กระทรวงดีอีจะมีการผลักดันกฎหมาย AI ฉบับแรกของประเทศ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและพิจารณาเรื่องจริยธรรมเอไอให้มีความโปร่งใสด้วย"

พร้อมกันนี้ นายประเสริฐ ยังระบุอีกว่า ดีอี ขอขอบคุณ หัวเว่ย และมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย จัดการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งนี้ โดยไทยถือเป็น 1 ในประเทศอาเซียนที่มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำมาอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 1,500 คนจาก 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำ จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน


หมวดเดียวกัน

สหรัฐเตือนทั่วโลกระวังก่อการร้ายในเดือนไพรด์ (Pride Month)

สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (เอฟบีไอ) และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (ดีเอชเอส) ออกคำแนะนำเมื่อวัน...

โลกร้อน-อากาศรวน ทำฝนตกหนัก-น้ำท่วม ‘อัฟกานิสถาน’ เสียชีวิตรวม 300 กว่าราย

สำนักข่าวบีบีซีรายงานวานนี้ (18 พ.ค.)ว่า น้ำท่วมอัฟกานิสถานฉับพลันหลังฝนตกหนัก ทางภาคกลางของประเทศ ส...

‘ศพไร้ญาติ’ ในแคนาดาพุ่ง เหตุญาติขอไม่รับศพ เพราะค่าจัดงานแพงหูฉี่

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมืองบางแห่งในแคนาดามียอดศพไร้ญาติ หรือศพที่ไม่มีผู้อ้างสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้...

เวียดนามตั้ง "พล.ต.อ.โต เลิม" เป็นปธน.คนใหม่

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศ...