หมอธีระวัฒน์ แจงเหตุลาออก หน.ศูนย์ฯโรคอุบัติใหม่ ยันเป็นเรื่องอนาคตของชาติ

จากกรณีที่ หมอดื้อ หรือศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา​ ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ ได้แจ้งลาออกจากการเป็น หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โดยยื่นจดหมายลาออกตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา เนื่องจากมีความกังวลจากองค์กร ว่าหมอเอง ทางสังคมมีการใช้ชื่อขององค์กรในการให้ความเห็น เรื่องของวัคซีน /เรื่องของไวรัสตัดต่อพันธุกรรม และเรื่องอื่นๆ 

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทในฐานะกลุ่ม แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ที่เห็นชีวิตของประชาชนเป็นที่ตั้ง (ยังคงเป็นอาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา โดยไม่รับค่าตอบแทน)

ล่าสุดวันนี้(29 เมษายน 2567) หมอธีระวัฒน์ เปิดเผยผ่านทางเพจเฟชบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha  เปิดเผยถึงเหตุผลที่ลาออกเพิ่มเติมว่า เป็นเรื่องของอนาคตของประเทศไทย

ซึ่งวันที่ 30 เมษายน 2567เป็นวันสุดท้ายในฐานะหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ตามที่ได้ยื่นจดหมายลาออก ในวันที่ 25 เมษายน 2567 ประเด็นสำคัญในการลาออกเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติภารกิจที่เป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อประชาชนและคนป่วย

  • ทั้งนี้ ตั้งแต่องค์กรไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดที่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด โดยมีการร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างไวรัสใหม่ที่มีความรุนแรงกว่าเดิม โดยมีกลุ่มข้ามชาติทำงานอยู่ในองค์กร
  • อีกประการที่สำคัญคือองค์กรต่อต้านการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ยกตัวอย่าง กัญชาและกันชง ในการช่วยดูแลบริบาล คนป่วยทั้งที่สามารถใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน  และดังนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเต็มที่ โดยขจัดโทษ เพื่อให้คนไทยสามารถช่วยตนเองได้
  • ในอีกส่วนที่ยังคงเป็น ข้อที่อธิบายไม่ได้ นั่นก็คือเมื่อมีข้อมูลการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของผู้ที่ได้รับผลกระทบของวัคซีนในสถานพยาบาลขององค์กรเอง แต่ยังมีการปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกัน

ทั้งๆที่องค์กรควรที่จะประเมินข้อมูลถี่ถ้วนรอบด้าน ในเวลาที่ผ่านมา ทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ข้อมูลทางด้านการแพทย์ที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทและธุรกิจ ทั้งนี้โดยกลุ่มแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่เห็นความปลอดภัยของประชาชนเป็นที่ตั้ง ได้พยายามให้ข้อมูลผลกระทบมาตลอด แก่องค์กร

  • ในทางที่ถูกที่ควร องค์กร ต้องให้มีการระงับใช้วัคซีน modified mRNA เสียก่อน รวมทั้ง
  • ต้องตอบให้ได้ว่าวัคซีนที่องค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีส่วนใดที่แตกต่างจากเดิมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆรวมทั้งมะเร็ง และมีการปรับปรุงอย่างไรที่ทำให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันต้องเข้าใจว่าวัคซีนไม่ใช่คำตอบเดียวหรือคำตอบสุดท้ายในการป้องกันโรคและถ้าจะมีวัคซีนใหม่ต้องผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด

หมวดเดียวกัน

สหรัฐเตือนทั่วโลกระวังก่อการร้ายในเดือนไพรด์ (Pride Month)

สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (เอฟบีไอ) และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (ดีเอชเอส) ออกคำแนะนำเมื่อวัน...

โลกร้อน-อากาศรวน ทำฝนตกหนัก-น้ำท่วม ‘อัฟกานิสถาน’ เสียชีวิตรวม 300 กว่าราย

สำนักข่าวบีบีซีรายงานวานนี้ (18 พ.ค.)ว่า น้ำท่วมอัฟกานิสถานฉับพลันหลังฝนตกหนัก ทางภาคกลางของประเทศ ส...

‘ศพไร้ญาติ’ ในแคนาดาพุ่ง เหตุญาติขอไม่รับศพ เพราะค่าจัดงานแพงหูฉี่

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมืองบางแห่งในแคนาดามียอดศพไร้ญาติ หรือศพที่ไม่มีผู้อ้างสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้...

เวียดนามตั้ง "พล.ต.อ.โต เลิม" เป็นปธน.คนใหม่

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศ...