รู้จัก 'โรคข้อเข่าเสื่อม' ภาวะเข่าสึกหรอที่เป็นได้ทุกวัย ไม่ใช่แค่สูงอายุ

การเดินเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคน แต่ในบางคนเมื่อเดินเยอะๆ จะรู้สึกว่ามีอาการขัด หรือรู้สึกเจ็บบริเวณเข่า ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของ "โรคข้อเข่าเสื่อม" ภาวะการเสื่อมของข้อเข่าที่พบมากใน ผู้สูงอายุ ทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณข้อเข่าเวลาเคลื่อนไหว และหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเจ็บมากจนกระทบการใช้ชีวิต วันนี้ นพ.สมยศ ปิยะวรคุณ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์ผู้ชำนาญการ ข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม ศูนย์กระดูกและข้อ รพ.วิมุต จะมาเล่าถึงลักษณะของโรค ข้อเข่าเสื่อม พร้อมบอกวิธีการดูแลรักษาเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพ ข้อเข่า ที่ดี เดินไปไหนมาไหนได้อิสระตามใจต้องการ

 

 

วัยไหนก็ห้ามเมิน “โรคข้อเข่าเสื่อม”

นพ.สมยศ ปิยะวรคุณ อธิบายว่า โรค ข้อเข่าเสื่อม หมายถึง ภาวะความเสื่อมของข้อเข่า ทั้งด้านรูปร่าง โครงสร้าง หรือการทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อต่อ รวมทั้งเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นของ ข้อเข่า เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้มทำให้เนื้อกระดูกชนกันขณะรับน้ำหนัก ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด และเมื่อผ่านไปนานๆ อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนหัวเข่าผิดรูป ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

 

  • กลุ่มปฐมภูมิ เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน เช่น การเสื่อมสภาพของ ข้อเข่า จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมักพบในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป รวมถึงการใช้งานข้อเข่ามากๆ
  • กลุ่มทุติยภูมิ คืออาการข้อเข่าเสื่อมที่มีสาเหตุบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น เช่น อุบัติเหตุที่กระทบบริเวณข้อเข่า การติดเชื้อที่ทำให้หลั่งสารที่ทำลายกระดูกอ่อน ส่วนใหญ่กลุ่มนี้จึงเกิดกับคนที่อายุน้อย คนไข้บางโรคที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ก็อาจทำให้ ข้อเข่าเสื่อม เร็วขึ้น เพราะการอักเสบที่เป็นซ้ำๆ เป็นๆ หายๆ จะไปเร่งการเสื่อมของเนื้อเยื่อในข้อเข่า

 

 

อาการแบบไหนเป็นสัญญาณ “โรคข้อเข่าเสื่อม”

 

โดยทั่วไปผู้ที่มีอาการ ข้อเข่า เสื่อมในระยะเริ่มต้นจะมีอาการปวดเล็กน้อยจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรืออาจมีอาการติดขัดข้อเข่า ยืดขาได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เข่าเริ่มมีเสียงกรอบแกรบจากการสึกของข้อเข่า ในบางกลุ่มอาจทำให้ข้อเข่าเปลี่ยนรูปทรง โดยส่วนมากจะมีภาวะข้อเข่าโก่ง และในส่วนน้อยข้อเข่าจะเกเข้าด้านใน ซึ่งทุกอาการจะมีอาการปวดร่วมด้วย และจะเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ดั้งนั้นถ้ามีอาการเหล่านี้จนรบกวนชีวิตประจำวันก็ควรมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา

 

 

วิธีการรักษา “โรคข้อเข่าเสื่อม”

สำหรับผู้ที่มีอาการเข้าข่ายโรคข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ และอาจตรวจด้วยเครื่อง MRI ร่วมด้วยในบางราย นอกจากนี้อาจเจาะเลือดเพิ่มเติมเพื่อตรวจดูปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีผลทำให้ ข้อเข่าเสื่อม เร็วขึ้น สำหรับการรักษาโรคนี้สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การบริหารข้อ เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการกินยาหรือการฉีดยาแก้ปวด เช่น สเตียรอยด์ ฯลฯ
  • การฉีดน้ำหล่อลื่น ข้อเข่า ซึ่งการฉีดยาทั้งสองแบบช่วยลดอาการในระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อฤทธิ์หมดก็จะกลับมาปวดเหมือนเดิม ดั้งนั้นทั้งสองวิธีจึงเหมือนเป็นการบรรเทามากกว่าจะเป็นการรักษา

 

 

เปลี่ยนชีวิตด้วย “ข้อเข่าเทียม”

 

หนึ่งในการรักษา โรคข้อเข่าเสื่อม ในปัจจุบันคือการผ่าตัดข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง ความเสี่ยงต่ำ และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งข้อเข่าเทียมในตอนนี้มีความใกล้เคียงข้อเข่าจริงมากขึ้น และใช้งานได้ยาวนานกว่า 20 ปีในคนไข้ส่วนใหญ่ โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • แบบเต็มเข่า คือการผ่าเปลี่ยนทั้งสองข้างทั้งด้านนอกและด้านใน
  • แบบครึ่งเข่า คือการผ่าเปลี่ยนแค่ครึ่งที่มีปัญหา ซึ่งวิธีนี้สามารถเก็บเส้นเอ็นในข้อเข่าไว้ได้ ทำให้เคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า

 

ทั้งนี้เข่าเทียมนั้นสามารถใช้งานได้ใกล้เคียง ข้อเข่า จริง แต่ต้องระวังกิจกรรมที่มีการพับงอเข่านานๆ เช่น เรื่องการคุกเข่า และหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้ข้อเข่ามากๆ เพราะข้อเข่าเทียมก็สึกหรอได้เหมือนเข่าจริง หลายคนกังวลว่าถ้าเป็น โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการหนักขึ้นต่อเนื่องจนเดินไม่ได้เลย แต่ในความจริงเรารักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม อาจต้องปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทำกายภาพบำบัด ใช้ยา หรือรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเทียมก็ได้เช่นกัน ข้อเข่า ของเราจะได้กลับมาแข็งแรงสมวัย ไม่ต้องมากังวลว่าจะเจ็บเวลาเดิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับ 'อาบน้ำ' หน้าร้อน อย่างไร ให้เย็นฉ่ำ สดชื่น ผิวสะอาดใส เปล่งประกาย

'กัญชา' เสพแล้วลืมความเครียดได้จริงไหม? ส่งผลเสียอย่างไรหากเสพต่อเนื่อง

ไขข้อสงสัย ทำไมบ่อยครั้ง ผู้สูงอายุ 'หลอดเลือดสมองแตก' ขณะ อาบน้ำ

'โรคตาแห้ง' ปัญหากวนใจที่ไม่ควรมองข้าม ละเลยอาจถึงขั้นตาบอด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Read More

เคล็ดลับ 'อาบน้ำ' หน้าร้อน อย่างไร ให้เย็นฉ่ำ สดชื่น ผิวสะอาดใส เปล่งประกาย

Read More

'กัญชา' เสพแล้วลืมความเครียดได้จริงไหม? ส่งผลเสียอย่างไรหากเสพต่อเนื่อง

Read More

ไขข้อสงสัย ทำไมบ่อยครั้ง ผู้สูงอายุ 'หลอดเลือดสมองแตก' ขณะ อาบน้ำ

ข่าวที่น่าสนใจ

เช็กเงื่อนไข ผู้สูงอายุยื่นขอเงินซ่อมแซมบ้านได้สูงสุดถึง 40,000 บาท


หมวดเดียวกัน

สหรัฐเตือนทั่วโลกระวังก่อการร้ายในเดือนไพรด์ (Pride Month)

สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (เอฟบีไอ) และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (ดีเอชเอส) ออกคำแนะนำเมื่อวัน...

โลกร้อน-อากาศรวน ทำฝนตกหนัก-น้ำท่วม ‘อัฟกานิสถาน’ เสียชีวิตรวม 300 กว่าราย

สำนักข่าวบีบีซีรายงานวานนี้ (18 พ.ค.)ว่า น้ำท่วมอัฟกานิสถานฉับพลันหลังฝนตกหนัก ทางภาคกลางของประเทศ ส...

‘ศพไร้ญาติ’ ในแคนาดาพุ่ง เหตุญาติขอไม่รับศพ เพราะค่าจัดงานแพงหูฉี่

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมืองบางแห่งในแคนาดามียอดศพไร้ญาติ หรือศพที่ไม่มีผู้อ้างสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้...

เวียดนามตั้ง "พล.ต.อ.โต เลิม" เป็นปธน.คนใหม่

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศ...