หน้าร้อนระวังเพลียแดด-ฮีทสโตรก อันตรายถึงชีวิต แนะรับมืออุณหภูมิสูง!

หน้าร้อนที่อุณหภูมิประเทศไทยพุ่งสูงเกิน 40 องศาแบบนี้ อาจทำให้คุณป่วยโดยไม่ทันตั้งตัว เพราะถึงเมืองไทยจะเป็นเมืองร้อนอย่างไร สภาพร่างกายหากอยู่ในอากาศที่รุนแรงเกินต้านก็ทำให้ป่วยได้ง่ายเช่นกัน อีกทั้งยังรวมถึงปัจจัยร่วมต่างๆ เช่นอายุ โรคประจำตัว และพฤติกรรมด้วย แต่หากเรารู้เท่าทันโรคต่างๆ และวิธีแก้ก็จะสามารถทำให้ผ่านหน้าร้อนนี้ไปได้แน่นอน!

โรคหน้าร้อนที่ต้องระวัง

  • โรคลมแดด (Heat Stroke)

โรคยอดฮิตที่ เป็นภาวะอุณหภูมิของร่างกายสูงเกิน 40 องศา ร่วมกับอาการทางระบบประสาท

Freepik/luis_molinero
อากาศร้อนจัด

โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของร่างกาย เช่น ซึม สับสน บางทีอาจถึงขั้นชักและหมดสติได้

อาการฮีทสโตรก

  • ตัวร้อน อุณหภูมิร่ายกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ
  • ในบางรายไม่มีเหงื่อออก
  • ความดันเลือดลดลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้
  • มีอาการเพ้อ ชักเกร็ง จนถึงขั้นหมดสติ

วิธีการรักษาฮีทสโตรก

หากพบผู้ป่วยโรคลมแดด ให้รีบพาเข้าที่ร่ม นอนราบกับพื้น ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด ปลดคลายเสื้อผ้าให้หลวม แล้วใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบร่างกาย หรือสเปรย์ละอองน้ำให้ทั่วร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

  • ภาวะตะคริวแดด (Heat Cramps)

เกิดจากความร้อนทำให้ร่างกายเสียน้ำ และขาดเกลือแร่ จึงเกิดเป็นตะคริว พบได้ทั้งคนที่ทำงานกลางแจ้ง ออกกำลังกายหักโหม หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาก

อาการตะคริวแดด

  • คล้ายกับการเป็นตะคริวทั่วไป คือ กล้ามเนื้อกระตุก เกร็งและรู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณที่เป็นตะคริว ซึ่งมักพบที่บริเวณช่วงน่อง ขา และแขน

วิธีการรักษา

เมื่อมีอาการตะคริว พยายามหยุดอยู่นิ่งๆ แล้วดื่มน้ำเพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • ภาวะเพลียแดด

เมื่อต้องอยู่กับสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้จากร่างกายไม่สามารถปรับสภาพตามอากาศได้ทัน จึงเกิดอาการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว

อาการเพลียแดด 

  • ปวดและมึนหัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย วิงเวียน
  • ปวดเมื่อย มีระดับความรุนแรงน้อยกว่าลมแดด

วิธีการรักษาเพลียแดด

ถ้าร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ให้ใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบร่างกาย หรือสเปรย์ละอองน้ำให้ทั่วร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย

  • โรคอุจจาระร่วง

เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ ที่มากับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด

อาการโรคอุจจาระร่วง

  • มีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด
  • มีอาการคลื่นไส้
  • ถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้งหรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 24 ชั่วโมง

วิธีการรักษาโรคอุจจาระร่วง

ปกติจะหายได้เองภายใน 7 วัน ควรทานยาตามอาการ เช่น ยาแก้อาเจียน แก้ปวดท้อง ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์

วิธีป้องกันภัยสุขภาพหน้าร้อน

  • ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ใส่เนื้อผ้าสีอ่อนที่ระบายอากาศได้ ไม่คับจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน
  • กางร่ม หรือใส่หมวกป้องกันแสงแดด
  • ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงเกิน 2-3 ชั่วโมง
  • ไม่ควรออกกำลังกายกลางแดดจัด
  • หากรู้สึกร่างกายขาดน้ำให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ และอยู่ในที่ๆ อากาศระบายได้สะดวก
  • ทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด เลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้
  • ล้างมือบ่อยๆ ใช้ช้อนกลางสำหรับเมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2


หมวดเดียวกัน

สหรัฐเตือนทั่วโลกระวังก่อการร้ายในเดือนไพรด์ (Pride Month)

สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (เอฟบีไอ) และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (ดีเอชเอส) ออกคำแนะนำเมื่อวัน...

โลกร้อน-อากาศรวน ทำฝนตกหนัก-น้ำท่วม ‘อัฟกานิสถาน’ เสียชีวิตรวม 300 กว่าราย

สำนักข่าวบีบีซีรายงานวานนี้ (18 พ.ค.)ว่า น้ำท่วมอัฟกานิสถานฉับพลันหลังฝนตกหนัก ทางภาคกลางของประเทศ ส...

‘ศพไร้ญาติ’ ในแคนาดาพุ่ง เหตุญาติขอไม่รับศพ เพราะค่าจัดงานแพงหูฉี่

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมืองบางแห่งในแคนาดามียอดศพไร้ญาติ หรือศพที่ไม่มีผู้อ้างสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้...

เวียดนามตั้ง "พล.ต.อ.โต เลิม" เป็นปธน.คนใหม่

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศ...