จี้ กทม.รื้อคอนโด ‘แอชตัน อโศก’ ทันทีหลังครบ 30 วัน ถ้ายื้อเจอยื่น ม.157

เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2566 นายศรีสุวรรณ จรรยา ในฐานะนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาคดีแอชตัน อโศกเมื่อวันที่ 27 ก.ค.2566 ยืนยันตามศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างอาคารแอชตันทั้งหมดทุกใบ โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกหนังสือฉบับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ.2558 แล้วนั้น  

บัดนี้ครบกำหนด 30 วันที่ กทม.ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบได้ตาม ม.41 แล้ว แต่ผู้ประกอบการอาคารดังกล่าวก็ยังไม่มีวีแววที่จะหาทางออกไม่ต่ำกว่า 12 เมตรตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ที่จะต้องออกคำสั่งทางปกครองบังคับให้เป็นไปตาม ม.41 และ ม.42 ของ พรบ.ควบคุมอาคาร 2522 โดยเคร่งครัดเมื่อศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุด เพราะอย่าลืมว่าสถานะของอาคารแอชตันถือได้ว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่มีใบอนุญาตตามคำพิพากษาของศาลมาตั้งแต่ 23 ก.พ.58 จวบจนปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาไปกว่า 8 ปีแล้ว และ กทม.จะต้องดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นรายวันนับแต่วันที่ไม่มีใบอนุญาตจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่ใช่นิ่งเฉยหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ โดยประวิงเวลาหาหนทางช่วยผู้ประกอบการเพื่อเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายส่วนนี้ไปมิได้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ทันที 

นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุดังกล่าว วันนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงได้มีหนังสือด่วนถึงผู้ว่าฯ กทม.และ ผอ.สำนักการโยธา ให้เร่งออกคำบังคับตามมาตรา 41 และ 42 โดยเร็ว นั่นคือ การห้ามใช้อาคาร และออกคำสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวในที่สุดต่อไป นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่ามีกลุ่มนักกฎหมายหัวใสวิ่งกันว่อน หากินกับลูกบ้านที่กำลังเดือดร้อน โดยไปเจรจาหว่านล้อมชักนำลูกบ้านในคอนโดดังกล่าวให้ร่วมรื้อคดีต่อศาลปกครอง ให้ความหวังลมๆแล้งๆว่าจะสามารถพลิกคำพิพากษาดังกล่าวได้ ทั้งๆที่คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้ว โอกาสการรื้อฟื้นยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเป็นร้อยเป็นพันเท่า  ทั้งนี้กลุ่มนักกฎหมายดังกล่าวได้มีข้อเสนอไปยังลูกบ้าน 3 ทางเลือก คือ

  • ค่าบริการฟ้องศาลปกครองการดำเนินการในชั้นศาลเพื่อฟ้องร้องหน่วยงานราชการเป็นเงิน 3,050,000 บาท
  • ค่าบริการฟ้องศาลแพ่งในกรณีความผิดและปัญหาผลกระทบจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดกับเจ้าของโครงการฯ โดยเรียกเก็บในศาลชั้นต้น 12,500,000 บาท ศาลอุทธรณ์/ฎีกา 5,000,000 บาท (จำนวนห้อง 501 ห้องขึ้นไป)
  • ค่าบริการในกระบวนการพิจารณาในศาลปกครองใหม่ 2,100,000 บาท ซึ่งจำนวนเงินทั้งหมดข้างต้น ไม่รวมค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในกระบวนการทางศาลอีกมากมายด้วย

 

นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า กรณีดังกล่าวหากลูกบ้านจะใช้สิทธิทางศาลในการเรียกร้องสิทธิของตนเอง ทำไมต้องไปเสียเงินเสียทองมากมายดังกล่าว หรือมัวไปหลงคารมของเหล่านักกฎหมายหัวใสดังกล่าวเลย เพราะปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงาน สคบ.ก็เปิดโอกาสให้ลูกบ้านทุกคนสามารถไปขอความช่วยเหลือทางคดีในการเรียกร้องสิทธิของตนเองได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆได้อยู่แล้ว แต่ถ้ารวยอยู่แล้ว อยากเสียเงินจ้างพวกนักกฎหมายเหล่านี้ ก็ตามใจ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เกาหลีใต้เตือนประชาชน เปียงยาง เกาหลีเหนือ ส่งบอลลูนขยะป่วนอีก

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานถ้อยแถลงจากกองทัพเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ กำลังส่งบอลลูนบรรทุกขยะและสิ่งปฏิกูล “...

รวยแล้วผิดตรงไหน? จีนสั่งแบนคอนเทนต์ติดหรูอวดรวย หวังลดช่องว่างทางสังคม

ล่าสุด สำนักพิมพ์เซาท์ไชน่ามอนิ่งรายงานว่าทางการจีนสั่งแบนบัญชีโซเชียลมีเดีย ของ 3 KOLs หรือคนดันในโ...

จี้ ‘อิสราเอล-ฮามาส’ เร่งรับแผนหยุดยิงกาซา

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน กาตาร์ สหรัฐ และอียิปต์ ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันเสาร์ (1 มิ.ย.) ระบุ “ในฐานะ...

เปิดวาทะเดือด ‘จีน-สหรัฐ’ เวที‘แชงกรีลาไดอะล็อก’

เวทีประชุมผู้นำด้านความมั่นคงทั่วโลก “แชงกรีลาไดอะล็อก” ที่สิงคโปร์ จัดขึ้นตั้งแต่วันศุกร์ (31 พ.ค.)...